Search

ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) ป้องกันได้ด้วยตนเอง

ทั้งหมด
ป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) คือ หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มักเกิดขึ้นเมื่ออายุเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นหนึ่งในโรคที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายและสร้างความกังวลใจรวมถึงรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งบางคนอาจพบปัญหา ข้อเข่าเสื่อม ที่โค้งงอผิดรูปจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะลุก นั่ง เดิน จะรู้สึกติดขัดบริเวณข้อ มีเสียงดังกรอบแกรบและรู้สึกเจ็บ
แม้โรคข้อเสื่อมจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วโรคนี้มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำอยู่เป็นประจำตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนเคยชิน การนั่งทำงานนานเกินไป การใส่รองเท้าส้นสูง การนั่งพับเพียบ การยกของหนัก หรือแม้แต่การวิ่งมาราธอน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดแรงกระแทกของข้อกระดูกแข็งจนทำให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อนั้นถูกทำลาย ประกอบกับเมื่ออายุเพิ่มขึ้นการสร้างกระดูกอ่อนบริเวณข้อจะน้อยลง ในขณะที่การถูกทำลายของข้อกระดูกอ่อนจะเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดโรคข้อเสื่อมจึงมากขึ้นตามไปด้วย

ตำแหน่งในร่างกายที่เสี่ยงข้อกระดูกเสื่อม

การเกิดอาการข้อกระดูกเสื่อมมีหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ที่เคยชิน ทำให้ข้อกระดูกเสื่อมสภาพและมีอาการรุนแรงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการข้อเสื่อมนี้มักเกิดบริเวณข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก และข้อกระดูกสันหลัง โดยมีสาเหตุที่แตกต่างกันดังนี้

 1.  ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) มีสาเหตุมาจากกระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าเสื่อมสภาพตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น หรือหากเกิดขึ้นในคนวัยทำงานมักมีสาเหตุมาจากการใช้งานหนัก เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา หรือเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้บาดเจ็บเรื้อรังบริเวณข้อเข่า รวมถึงน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจนเพิ่มแรงกดบริเวณหัวเข่าด้วย
 2.  ข้อสะโพกเสื่อม (Hip osteoarthritis) มีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้กระดูกสะโพกเสื่อม หรือเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณข้อสะโพก ความผิดปกติของข้อสะโพก เช่น เบ้าสะโพกตื้นกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม
 3.  ข้อกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) มีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกสันหลังยุบตัวลง เพราะอายุที่มากขึ้น เมื่อกระดูกสันหลังหลวม ร่างกายจึงสร้างกระดูกมาทดแทนเพื่อให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคง กระดูกที่งอกออกมานั้นเรียกว่า ‘กระดูกสันหลังเสื่อม’ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคกระดูกทับเส้นได้ด้วย

ทำไม ข้อเข่าเสื่อม เกิดขึ้นง่ายกว่าส่วนอื่น?

ในบรรดาโรคข้อเสื่อมทั้งหมดที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตำแหน่งที่แพทย์พบบ่อยที่สุดคือ ‘ข้อเข่า’ เนื่องจากข้อเข่าเป็นส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักตัวจึงได้รับแรงกดทับ และมีการเสียดสีจากการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง ลุก นั่ง ขึ้น-ลงบันได รวมถึงการยกของหนักเป็นประจำ ในระยะแรกจะเริ่มมีอาการเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหว รู้สึกถึงการเสียดสีกันของข้อกระดูก ทั้งนี้อาการจะดีขึ้นได้เมื่อหยุดทำกิจกรรมที่ต้องใช้เข่า แต่หากอาการเข้าสู่ระยะที่รุนแรง อาการปวดและอักเสบจะเพิ่มขึ้น ข้อเข่าบวมแดง เหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด ข้อเข่าผิดรูปและไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นเดิม

สัญญาณของ อาการข้อเข่าเสื่อม ที่สังเกตได้

สาเหตุของข้อเข่าเสื่อมที่กล่าวไปแล้วนั้น ล้วนเป็นสาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำตั้งแต่วัยทำงาน ดังนั้นควรสังเกตความเสี่ยงและเช็กอาการข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ ดังนี้

  1. งอเข่า หรือเหยียดขาได้ไม่สุด
  2. ปวดข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว
  3. ข้อกระดูกบริเวณเข่าอักเสบ บวม แดง
  4. รู้สึกฝืดหรือติดขัดบริเวณข้อเข่า
  5. มีเสียงเสียดสีบริเวณข้อเข่าขณะที่เคลื่อนไหว

อาการทั้ง 5 ข้อด้านบนเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมทั้งสิ้น ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ข้อเข่าผิดรูป ขาโก่งงอ และมีโอกาสที่จะไม่สามารถเดินหรือใช้ชีวิตได้เป็นปกติ

อ่านต่อ : เช็กลิสต์! คุณมีความเสี่ยง ข้อเสื่อม และกระดูกพรุนหรือไม่ ?

วิธีชะลอและป้องกัน ข้อเข่าเสื่อม

นอกจากสาเหตุของข้อเข่าเสื่อมที่กล่าวมาแล้ว เรื่องของพันธุกรรมก็มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้ นั่นหมายความว่าโรคข้อเสื่อมอาจไม่ใช่โรคที่สามารถป้องกันได้ 100% แต่อย่างไรก็ตามการชะลอการเกิดข้อเข่าเสื่อมเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเฝ้าระวังการทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อข้อเข่า รวมถึงเสริมความแข็งแรงของข้อเข่าด้วยสารอาหารสำคัญ นั่นคือ ‘คอลลาเจนทางการแพทย์’

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคอลลาเจน Type II ช่วยบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมได้

หลายคนอาจคุ้นเคยกับคุณสมบัติของคอลลาเจนที่ช่วยในการบำรุงผิวพรรณเท่านั้น แท้จริงแล้วคอลลาเจนบำรุงผิวที่เรารู้จักกันเป็นเพียงคอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen Type I) ซึ่งจะพบได้ที่ผิวหนัง แต่คอลลาเจนที่ช่วยให้ข้อกระดูกแข็งแรงคือ คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ที่มักพบได้ตามข้อต่างๆ ของร่างกาย ทั้งนี้สามารถเติมคอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) ได้จากถั่ว เนื้อหมู ไก่ ปลาและวัว อย่างไรก็ตามปริมาณคอลลาเจนที่พบในอาหารอาจมีไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการทานคอลลาเจนเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หากเราได้รับคอลลาเจนชนิดนี้เพียงพอจะช่วยกระตุ้นเซลล์กระดูกอ่อน (Chondrocyte) ให้สร้างคอลลาเจนและน้ำหล่อเลี้ยงบริเวณข้อเพิ่มขึ้น แต่ในทางการแพทย์ คอลลาเจน คือ สารอาหารที่สำคัญในการดูแลปัญหาข้อเสื่อม โดยมีผลวิจัยทางการแพทย์พบว่าเมื่อนำคอลลาเจนมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีขนาดสั้นลง เรียกว่า ‘ไฮโดรไลเซต คอลลาเจน’ จะยิ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมคอลลาเจนได้ง่ายและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ข้อกระดูก รวมทั้งช่วยเสริมสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยชะลอการเกิดโรคข้อเสื่อม รวมทั้งช่วยป้องกันการอักเสบ ปวดข้อกระดูกได้

แม้ว่าข้อกระดูกจะเป็นส่วนเล็กๆ ในร่างกาย แต่มีความสำคัญในการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ดังนั้นดูแลข้อกระดูกของคุณให้แข็งแรงด้วยการเติมสารอาหารคอลลาเจนบำรุงกระดูกอ่อนข้อไว้ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคข้อกระดูกเสื่อมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ด้วยความห่วงใยจาก Fortigel_MEGA We care
อ้างอิง
อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ข้อเสื่อม

ข้อกระดูกเสื่อมหรือไม่ เช็คอาการได้ด้วยตนเอง

ข้อเสื่อม

เพิ่มความแข็งแรงให้ข้อเข่า ด้วย “ไฮโดรไลเซต คอลลาเจน ”

กระดูกพรุน

2 ตัวช่วยหมดปัญหากระดูกและข้อ