Search

โรคเบาหวาน ควรเลือกกินอาหารอย่างไร

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

การเลือกกิน ‘อาหาร’ ในชีวิตประจำวันนั้นมีความสำคัญอย่างมาก หากเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง และลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ซึ่งการเลือกกินอาหารควรเลือกให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเองหรืออาหารเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือโรค ‘เบาหวาน’ ที่จำเป็นต้องมีการควบคุมอาหารในระยะยาว เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ทำไมคนเป็น ‘เบาหวาน’ ต้องควบคุมอาหาร

เนื่องจากโรค เบาหวาน (Diabetes) เป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCD’s ที่ทั่วโลกมีคนที่เป็นโรคนี้สูงถึง 463 ล้านคน และ WHO หรือองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในปี 2045 จะมีคนที่เป็นโรคนี้เพิ่มถึง 629 ล้านคน ส่วนประเทศไทยก็เช่นกันมีแนวโน้มของจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปีละประมาณ 3 แสนคน

เบาหวาน จึงเป็นอีกโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย โดยมีสถิติผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้สูงถึง 200 ราย/วัน ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องเลือกกินอาหารอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะอาหารคุณภาพดี ครบ 5 หมู่ และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ รวมถึงมีสารอาหารที่ช่วยดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid) วิตามินบี 1,6,12 สารสกัดจากขมิ้นชัน และเวย์โปรตีนสำหรับคนเป็นเบาหวาน เป็นต้น

ประเภทอาหารที่เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน

อาหารที่คนเป็นโรคเบาหวานควรเลือกกิน คือ อาหารที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ มีไฟเบอร์หรือใยอาหารในปริมาณสูง รวมถึงอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น

  • อาหารประเภทต้ม นึ่ง หรือแกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม แกงจืด แกงเลียง แกงป่า
  • อาหารประเภทยำหรือสลัด
  • อาหารประเภทน้ำพริกที่ไม่มัน และไม่หวานจนเกินไป
  • ผลไม้ที่มีดัชนี้น้ำตาลต่ำ เช่น ฝรั่ง แก้วมังกร แอปเปิล เป็นต้น

ส่วนอาหารที่คนเป็นเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารที่มีไขมันสูง รสหวานจัดหรือเค็มจัด เช่น ขนมหวานที่ใส่กะทิ เบเกอรี แกงกะทิ น้ำอัดลม อาหารทอดต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและคงระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป รวมถึงช่วยชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต

4 สารอาหารสำคัญสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน

สำหรับคนที่เป็นเบาหวาน นอกจากหลักในการปฏิบัติตัว เช่น อาหารที่เหมาะกับโรค การพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอที่ต้องทำอย่างเคร่งครัดแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานเสริมสารอาหารในแต่ละมื้อด้วย

1. แอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid)

กรดอัลฟ่า ไลโปอิด แอซิด (Alpha Lipoic Acid) ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระครอบจักรวาลที่ออกฤทธิ์ได้ทั่วร่างกาย (Universal antioxidant) สามารถละลายได้ทั้งไขมันและน้ำ มีผลวิจัยจากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า กรดแอลฟ่า ไลโปอิก แอซิด (Alpha Lipoic Acid) มีประโยชน์สามารถที่จะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากการเป็นโรคเบาหวานได้ เช่น อาการชาตามปลายมือปลายเท้า ในอาหารธรรมชาติสามารถพบกรดชนิดนี้ได้ใน บรอกโคลี ผักปวยเล้ง มันฝรั่ง มะเขือเทศ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และน้ำมันรำข้าว เป็นต้น เนื่องจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีจึงมีสรรพคุณในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะไปเพิ่มความไวของอินซูลิน และลดอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้โดยตรง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยว่ามีส่วนช่วยลดอาการปลายประสาทอักเสบในผู้ป่วยเบาหวานได้อีกด้วย

2. วิตามินบี 1, 6 และ 12

เนื่องจากอาการชาบริเวณปลายมือปลายเท้าจากปลายประสาทอักเสบ ถือเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมากในคนที่เป็นเบาหวาน ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป ทำให้เยื้อหุ้มประสาทถูกทำลาย และร่างกายขาดวิตามินบี 1, 6 และ 12 ที่เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสัญญาณสื่อประสาท ดังนั้นวิตามินบี 1, 6 และ 12 จึงเป็นวิตามินที่สามารถรักษาอาการชาดังกล่าวได้ รวมถึงช่วยให้สามารถรักษาอาการชาจากปลายประสาทอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากเลือกเสริมอาหารควรเลือกวิตามินบี 12 ที่เป็นรูปแบบเมทิลโคบาลามินในปริมาณสูง (500 ไมโครกรัม) ควบคู่กับการรักษาอาการชาที่ต้นเหตุด้วยการรับสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง

3. เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid)

ขมิ้นชัน สมุนไพรมากประโยชน์ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี มีสารสำคัญ คือ เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoid) ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ช่วยรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดการอักเสบตามข้อ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ โดยมีผลการวิจัยว่าสารสกัดจากขมิ้นชันมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ทำให้ระบบการทำงานของอินซูลินในร่างกายดีขึ้น สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และทำให้ระดับน้ำตาลสะสมของผู้ที่เป็นเบาหวานลดลง ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมในการผลิตสารเคอร์คูมินอยด์ในรูปแบบของไฟโตโซมที่ช่วยให้การละลายและการดูดซึมสารเคอร์คูมินอยด์ดีมากขึ้น โดยทำในรูปแบบไฟโตโซมซึ่งทำให้สารเคอร์คูมินอยด์ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารสกัดแบบธรรมดาทำให้ได้ประสิทธิภาพของเคอร์คูมินอยด์ได้อย่างเต็มที่

4. เวย์โปรตีนสำหรับคนเป็นเบาหวาน

การควบคุมอาหารและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของคนที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำการเสริมอาหารด้วยเวย์โปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักโดยเวย์โปรตีนคุณภาพดี (Whey Protein Concentrate) ดูดซึมง่าย ไม่ทำให้ท้องอืด มีไขมันและน้ำตาลต่ำ เพื่อช่วยส่งเสริมการหลั่งอินซูลินซึ่งมีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ การเลือกเวย์โปรตีนที่ผลิตขึ้นมาเป็นอาหารสูตรครบถ้วน ที่มีการเพิ่มโปรไบโอติกและพรีไบโอติกเข้าไปในสูตร จะสามารถช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายให้สมดุลและเป็นการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งการเพิ่มกากใยอาหารหรือพรีไบโอติกในอาหารที่ใช้ทดแทนมื้ออาหารถือว่าเป็นการดูแลลำไส้ใหญ่ได้ดีเช่นเดียวกับการมีโปรไบโอติกในปริมาณสูง เพราะจุลินทรีย์ที่ดีเหล่านี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ง่ายของผู้ป่วยโรคเบาหวานและสำหรับทุกคน เสริมภูมิต้านทานและให้ประโยชน์ในการปรับสมดุลทางเดินอาหารให้ดีกว่าการไม่กินโปรไบโอติก อ่านต่อ : อาหารทางการแพทย์ ตัวช่วยที่ดีกว่าในการดูแลสุขภาพ

วิธีดูแลสุขภาพของคนเป็นเบาหวาน

การปฏิบัติตัวและดูแลร่างกายตัวเองสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน อาจจะต้องมีความเข้มงวดเช่นเดียวกับโรค NCD’s อื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องพื้นฐานต่างๆ เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินอาหาร การพักผ่อน และการออกกำลังกาย ความดันโลหิต ไขมันในเลือดและน้ำหนักตัวให้ได้ตามเป้าหมาย แต่ที่สำคัญมากคือ ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยหลักปฏิบัติของคนเป็นเบาหวานมี 12 ข้อหลักๆ ดังต่อไปนี้

  1. จำกัดปริมาณในการกินอาหารประเภทแป้ง ข้อมูลเพิ่มเติม
  2. เลือกกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท หลีกเลี่ยงข้าวหรือแป้งที่ผ่านการขัดสี
  3. ต้องกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ และตรงเวลา
  4. กินผักและผลไม้สดให้มากขึ้น สำหรับผลไม้ต้องเลือกผลไม้ที่หวานน้อย
  5. ควรดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 แก้วต่อวัน
  6. จำกัดปริมาณในการกินเนื้อสัตว์ ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนัง
  7. ออกกำลังกายวันละ 30 นาที อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
  8. กินยาหรือฉีดยาตามคำสั่งแพทย์
  9. งดการกินอาหารหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือจำกัดการกินให้น้อยที่สุด
  10. หลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารเค็ม ของทอด และอาหารแปรรูป
  11. งดการบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  12. พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

จะเห็นได้ว่า อาหาร หรือเรื่องโภชนาการมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับคนเป็น เบาหวาน ซึ่งอาจจะต้องเลือกกินอย่างพิถีพิถัน โดยเฉพาะอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องดีต่อสุขภาพ และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หากดูแลเรื่องอาหารเป็นอย่างดีแล้ว การปฏิบัติตัวและดูแลร่างกายตัวเองอย่างเคร่งครัด เพียงเท่านี้คุณก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยความห่วงใยจาก_MEGA We care

อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

อัลฟา ไลโปอิก แอซิด (Alpha-Lipoic Acid) สารอาหารต้านโรคเบาหวาน

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

4 สารอาหารที่สำคัญสำหรับคนเป็นเบาหวาน

ภาวะเบาหวาน

โรคเบาหวานต้องดูแลตัวเองอย่างไร