อาหารทางการแพทย์ หรือที่รู้จักกันว่า อาหารคนป่วย เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ยุคใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาโภชนาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ซึ่งมักจะมีอาการเบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารได้น้อยลง จากปัญหาด้านร่างกาย หรือด้ายจิตใจ ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน จึงมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสารอาหาร ทำให้เกิดความเจ็บป่วย และภูมิคุ้มกันลดลง จนเกิดการติดเชื้อตามมา
อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) คือ อาหารที่ผลิตขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษทางการแพทย์ และใช้เป็นโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยเฉพาะโรค ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารแบบปกติได้เพียงพอ หรือผู้ที่ร่างกายอยู่ในภาวะที่ต้องการสารอาหารบางอย่างมากหรือน้อยเป็นพิเศษ โดยอาหารเหล่านี้จะมีสัดส่วนของสารอาหารที่เหมาะสมและมีวิตามินแร่ธาตุที่ครบถ้วน ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบที่ใช้รับประทาน ดื่ม หรืออยู่ในรูปแบบอาหารทางสายยาง (Tube Feeding)
สารอาหารหลักในสูตรอาหารแพทย์ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยมีการดัดแปลงให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้ง่ายขึ้น ในบางประเภทอาจมีการเพิ่มหรือปรับลดสารอาหารบางอย่างเพื่อให้เหมาะกับภาวะสุขภาพหรืออาการของโรค จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารตามปกติได้ เช่น
อาหารทางการแพทย์มีคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมกับภาวะสุขภาพที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ จึงสามารถรับประทานทดแทนอาหารหลักและรับประทานเสริมได้ ดังนี้
1. ใช้เป็นอาหารหลักแทนอาหารแต่ละมื้อให้กับผู้ป่วยในบางโรค
อาหารทางการแพทย์ เหมาะสำหรับผู้ที่กินอาหารไม่ได้ตามปกติโดยเฉพาะผู้ป่วยในบางโรค เช่น ผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหาร่างกายไม่สามารถย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหารหรือเกลือแร่บางชนิด เช่น ผู้ป่วยไตวายหรือผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน รวมทั้งผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง เป็นต้น
2. ใช้เป็นอาหารสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร
ปัญหาที่พ่อแม่จำนวนไม่น้อยต้องพบ คือ ลูกไม่ยอมรับประทานอาหาร ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายของเด็กซึ่งเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วน โดยอาหารทางการแพทย์สามารถใช้รับประทานเสริมเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และแก้ปัญหาให้กับเด็กที่ไม่ยอมรับประทานข้าว รวมทั้งเด็กที่มีปัญหาแพ้นมวัวและนมถั่วเหลืองจนร่างกายขาดโปรตีนได้
3. ใช้เป็นอาหารเสริมในการให้พลังงานสำหรับผู้ที่มีปัญหาการรับประทานอาหาร
ผู้ที่มีปัญหาในการรับประทานอาหารโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการบดเคี้ยวอาหารหรืออยู่ในภาวะเบื่ออาหาร รวมทั้งผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกายและผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัด ควรได้รับสารอาหารเสริมเพื่อป้องกันการขาดสารอาหารและเป็นการช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงโดยเร็ว
การเลือกรับประทานอาหารทางการแพทย์ ควรพิจารณาชนิดของอาหารลักษณะต่างๆ ให้เหมาะกับสภาวะความเจ็บป่วยหรือความต้องการอาหารของร่างกายที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน ดังนี้
1. ผู้ที่มีร่างกายมีภาวะความเจ็บป่วยมาก
สำหรับผู้ที่ร่างกายมีภาวะความเจ็บป่วยมากนั้นจะต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการใช้โปรตีนและพลังงานมาก ดังนั้นจึงควรเลือกอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่เข้มข้น ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะการสะสมของเสียคั่งในร่างกายแล้วมีโอกาสเป็นพิษที่สมองได้ (Hepatic encephalopathy)
2. อาหารทางการแพทย์โรคไต
ผู้ป่วยที่ขับสารน้ำได้ไม่ดีหรือผู้ป่วยโรคไต เหมาะกับอาหารที่มีความเข้มข้นของพลังงานสูง สามารถคำนวณปริมาณโปรตีนได้ง่ายและมีวิตามิน แร่ธาตุ ที่มีผลกับไตไม่เกินปริมาณที่แพทย์แนะนำ ซึ่งการเลือกชนิดของอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสมนั้น ให้อ่านข้อมูลบนฉลากโภชนาการ หรือ มีฉลากอาหารที่ระบุว่าเป็นอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคไต
3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาย่อยไขมัน
ในกรณีของผู้ป่วยที่มีปัญหาการย่อยไขมัน ควรเลือกใช้อาหารที่มีไขมันสายยาวน้อย (Long Chain Fats) ซึ่งก็ควรต่ำกว่า 30% ลงมา และหากมีไขมันสายกลาง (MCT oil) อยู่ด้วยก็ยิ่งดีเพราะจะช่วยให้การดูดซึมดีขึ้น ไม่มีของเสียให้ร่างกายต้องกำจัดออก
4. อาหารทางการแพทย์เบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวาน ให้หมั่นสังเกตดัชนีน้ำตาล หรือระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นหลังการรับประทาน ซึ่งโดยทั่วไปอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีการระบุว่าเป็นดัชนีน้ำตาลต่ำ(ค่า GI น้อยกว่า 55) หรือระบุว่า มีน้ำตาลเป็นศูนย์ ที่ฉลากโภชนาการ
ปัจจุบันอาหารทางการแพทย์มีหลายแบบให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น แบบผง แบบน้ำ สูตรทั่วไป สูตรเฉพาะโรคหรือสูตรพิเศษ ซึ่งอาหารทางการแพทย์สูตรพิเศษจะถูกคิดค้นมาให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องการอาหารมื้อทดแทน โดยมีข้อดีที่มากกว่าสูตรทั่วไป คือ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีอาหารทางการแพทย์ให้เลือกซื้ออยู่หลากหลาย ไม่เพียงแต่จะเป็นอาหารคนป่วยทั่วไปหรือเป็นอาหารคนป่วยติดเตียงเท่านั้น แต่ยังสามารถรับประทานเสริมเพื่อโภชนาการที่ดีขึ้นอีกด้วย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพและคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปมากที่สุด ผู้บริโภคควรพิจารณาเลือกซื้ออาหารทางการแพทย์สูตรที่ตอบโจทย์และตรงต่อความต้องการของสุขภาพ รวมทั้งพิจารณาเรื่องคุณภาพของส่วนผสมซึ่งจะต้องมีสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอและรสชาติที่อร่อย เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุด้วย
-