ในช่วงของวิกฤติสุขภาพการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานเกี่ยวกับสาธารณะสุขทั่วโลกต่างเร่งทำการศึกษาเพื่อค้นหาวิธีในการหยุดยั้ง บรรเทา ลดความรุนแรง รวมทั้งป้องกันไม่ให้เชื้อโรคมาทำอันตรายกับร่างกายของมนุษย์
เนื่องจากจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้มีผลต่อความรุนแรงของ COVID-19 และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสติดเชื้อในเซลล์ในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการที่ยังคงอยู่หลังจากหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้วถูกศึกษาด้วยเช่นกัน
งานวิจัยหลายฉบับจากทั่วโลกได้มุ่งศึกษาเรื่องของโพรไบโอติก (Probiotics) จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายว่าอาจเป็นอีกทางเลือกในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ SARS-CoV-2 รวมถึงความเป็นไปได้ในการใช้โพรไบโอติกเพื่อป้องกันหรือรักษา COVID-19 เช่น นักวิจัยของประเทศจีนได้ทดลองให้ผู้ป่วย COVID-19 รับประทานโพรไบโอติกบางตัวและพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากโพรไบโอติกมีอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันมีความเป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้
นอกจากนี้ทีมวิจัยจาก Duke University ของอเมริกาเผยว่า โพรไบโอติก (Probiotics) มีความสามารถในการบรรเทาอาการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านั้นในร่างกาย เราพบว่าโพรไบโอติกส์สามารถกำจัดไวรัส และแบคทีเรียรวมถึงควบคุมการอักเสบ ดังนั้นเราจึงควรบริโภคจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิต เนื่องจากมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพได้แก่
อีกทั้งงานวิจัยหลายฉบับจากทั่วโลกได้ตั้งคำถามถึงความเกี่ยวข้องของโพรไบโอติก (Probiotics) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีหรือมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ SARS-CoV-2 รวมถึงศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้โพรไบโอติกเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 ซึ่งส่วนหนึ่งจากงานวิจัยที่จัดทำโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์และจุลชีววิทยาของ King Saud University ประเทศซาอุดิอาระเบียพบว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติก (Probiotics) มีฤทธิ์ในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ รวมถึงปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ จึงทำให้ทีมนักวิจัยกำลังพยายามศึกษาเรื่องการใช้โพรไบโอติกเพื่อต่อสู้กับ COVID-19
งานวิจัยจำนวนมากศึกษาความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องของโพรไบโอติก(Probiotics) ในลำไส้และความผิดปกติของปอด ซึ่งรวมถึงโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ มะเร็งปอด ปอดบวม และน้ำในเยื้อหุ้มปอด โดยระบุว่าการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดการรบกวนจุลินทรีย์ในลำไส้ อาทิ L. casei, L. gasseri, B. longum, B. bifidum, L. rhamnosus, L. plantarum, B. breve, Pediococcus pentosaceus และ Leuconostoc mesenteroides ซึ่งผลการศึกษาล่าสุดในประเทศจีนยังยืนยันว่าการติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลต่อความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของมนุษย์ โดยสังเกตจากผู้ป่วย COVID-19 พบว่ามีจุลินทรีย์ Bifidobacterium spp. และ Lactobacillus spp. ในลำไส้ลดลง รวมถึงสัดส่วนของผู้ป่วย COVID-19 ที่เป็นโรคอุจจาระร่วงสูงถึง 36%
ทีมนักวิจัยจากประเทศจีนจึงได้ทดลองให้ผู้ป่วยโควิด-19 รับประทานโพรไบโอติก (Probiotics) บางตัว แล้วก็พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากโพรไบโอติกมีอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันมีความเป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้ อย่างไรก็ตามบทบาทในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาของโพรไบโอติกยังคงต้องได้รับการศึกษาและทดลองต่อไปให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น
ส่วนงานวิจัยอีกฉบับจากซาอุดีอาระเบียก็ได้สรุปว่าโพรไบโอติก (Probiotics) จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจรวมถึงช่วยบรรเทาอาการจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ กล่าวคือโพรไบโอติกเป็นสารกระตุ้มภูมิคุ้มกันและมีแนวโน้มที่จะรักษาการติดเชื้อโควิด-19 ในกรณีที่ไม่มีวัคซีน ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับงานจากเวียดนามที่ระบุว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจกลไกของการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ต่อไปเพื่อสามารถพัฒนายาหรือวัคซีนชนิดใหม่สำหรับต้านไวรัสโคโรนา
Dr. Paul Wischmeyer หัวหน้าทีมวิจัยจาก Duke University ของอเมริกาก็ระบุว่า “คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงศักยภาพของโพรไบโอติกในการลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อ ซึ่งเขาและทีมงานทุกคนเชื่อว่าโพรไบโอติกสามารถนำไปใช้กับโรค COVID-19 ได้เช่นเดียวกับการติดเชื้ออื่นๆ โดยได้กล่าวไว้ว่า "เรามีข้อมูลที่ศึกษาประโยชน์ของโพรไบโอติกพบว่ามีความสามารถในการบรรเทาอาการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านั้นในร่างกาย เราพบว่าโพรไบโอติกสามารถกำจัดไวรัสและแบคทีเรียรวมถึงควบคุมการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าโพรไบโอติกสามารถลดการติดเชื้อทางเดินหายใจในผู้ใหญ่ได้อย่างมีนัยสำคัญ 30-50%"
แม้ว่าเรื่องของการนำเอาโพรไบโอติก (Probiotics) มาใช้รักษากับ COVID-19 ยังไม่ยืนยันแน่ชัด แต่การที่ร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดดีนี้อย่างเพียงพอก็สามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวม และระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล ดังนั้นโพรไบโอติก (Probiotics) จึงเป็นสิ่งสำคัญ และมีผลต่อสุขภาพ รวมถึงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทุกคน
อ่านต่อ : ประโยชน์ของโพรไบโอติก (Probiotics) ต่อระบบทางเดินอาหาร
1. www.tnnthailand.com/news/covid19/73644/
2. www.thelancet.com/journals/langas/article/PIIS2468-1253(20)30196-5/fulltext
3. Drug Hypersensitivity reactions พญ.วัลยา กู้สกุลชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์