Search

ท้องเสีย รักษาได้อย่างไร

ทั้งหมด
รักษาท้องเสีย

ท้องเสีย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วงเฉียบพลัน เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ โดยติดต่อ ติดต่อกันสามครั้งขึ้นไปต่อวัน หรือในบางรายอาจมีอาการปวดบิดในท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วยซึ่งอาการท้องเสียมักเกิดได้จากสาเหตุดังนี้ 

1. การติดเชื้อ มากกว่าร้อยละ 90% เป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปาราสิต  

2. รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด หรือแม้กระทั่งมือของเราเองที่ผ่านการหยิบจับสิ่งของสกปรกมาก่อน

3. ความเครียดวิตกกังวล

4. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์มากเกินไป

5. ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยาลดความดัน ยาเคลือบกระเพาะ หรือยาระบาย เป็นต้น 

6. สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคเซลิแอค หรือคนที่แพ้กลูเตนในอาหาร โรคกลุ่มลำไส้อักเสบ เป็นต้น

.

ท้องเสีย มีกี่ประเภท?

อาการท้องเสีย เป็นหนึ่งในความผิดปกติของระบบทางเดินทางอาหารที่ทางการแพทย์สามารถแบ่งสาเหตุออกได้ 2 ประเภทดังนี้

1.  ท้องเสียแบบเฉียบพลัน

เป็นอาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน เนื่องจากร่างกายจะได้รับเชื้อโรคมาจากการปนเปื้อนในน้ำหรืออาหารที่รับประทาน โดยเชื้อโรคดังกล่าวสามารถเป็นได้ทั้ง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต อย่างไรก็ตามอาการท้องเสียเฉียบพลันยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การรับประทานรสจัด รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป

2.  ท้องเสียแบบเรื้อรัง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น อาการท้องเสียสามารถบรรเทาและหายได้เองภายในไม่เกิน 7 วัน แต่สำหรับอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกัน 14 วันขึ้นไป ทางการแพทย์เรียกว่าเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งก็อาจมีปัจจัยมาจากโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป เพราะบางคนจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะการย่อยสารอาหารบางประเภท

.

รักษาตัวเองเบื้องต้นอย่างไร เมื่อมีอาการท้องเสียเฉียบพลัน

  1. ควรดื่มน้ำเปล่า และจิบน้ำผสมผงเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ) โดยจิบบ่อยๆ
  2. ควรรับประทานอาหารประเภทอ่อน รสไม่จัด และย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำแกงจืด เป็นต้น เพื่อให้การหดตัวของลำไส้ใหญ่ลดลง จึงช่วยให้การขับถ่ายลดลงไปด้วย
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ และงดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ๆ

ควรรีบพบแพทย์ หากมีอาการ ดังนี้

1.  ไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส

2. ปวดท้องมาก ปวดท้องบิด มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

3. รับประทานอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ

4. อ่อนเพลีย ตาลึกโหล ถ่ายเป็นมูกเลือด

.

โปรไบโอติกส์ ยีสต์ (Probiotic Yeast) วิธีใหม่ในการป้องกันและรักษาอาการท้องเสียที่เหมาะกับทุกคน

การรักษาอาการท้องเสียในวิธีเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันมากกว่าการกินแก้ท้องเสียก็คือ การรักษาด้วยโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast)

ทางการแพทย์นำเอาวิธีการใช้โปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) เข้าเสริมเพื่อใช้รักษาและป้องกันและรักษาโรคในมนุษย์หลายกรณี ในอดีต Naaber et al. (1998) ได้รายงานถึงประสิทธิภาพของโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ต่อการยับยั้งการติดเชื้อ Clostridium difficile ในหนูทดลอง Pinchuk et al. (2001) พบว่าโปรไบโอติกส์ในกลุ่ม Bacillus subtilis สามารถยับยั้งเชื้อโรคในกลุ่ม Helicobacter pylori ได้ดี โปรไบโอติก (Probiotic) ยังสามารถนำ มาเป็นแนวทางในการป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจที่มีสาเหตุมาจากปริมาณโคเลสเตอรอลสูงในมนุษย์ได้ (Usman and Hosono, 2000) มีการค้นพบว่าโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) แบคทีเรียสามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เพิ่มปริมาณในระดับที่สูงขึ้นในคนไข้ (Fuller and Gibson, 1997) การเพิ่มขึ้นของโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ในระบบทางเดินอาหารนั้น จะสามารถลดโคลิฟอร์มก่อโรคในบริเวณทางเดินอาหารได้ (Francis et al., 1978; Jin et 5 al., 1996; Watkins and Miller, 1983; Adami and Cavazzoni, 1999; Maruta et al., 1996)

.

โปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) คืออะไร และดีต่อต่อระบบทางเดินอาหารอย่างไร?

ในบริเวณภายในลำไส้ของคนเรา จะมีเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียหรือยีสต์อาศัยอยู่ โดยจะมีทั้งแบบที่ให้ประโยชน์และให้โทษกับร่างกาย ซึ่งโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) คือกลุ่มจุลินทรีย์แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ ยิ่งเมื่อมีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมจะช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่นๆ ของร่างกายให้เกิดความสมดุล เนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาความผิดปกติในร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ช่วยรักษาอาการท้องเสียเฉียบพลัน และเรื้อรังได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน หรือภาวะการที่ลำไส้อักเสบจากการที่ได้รับยาปฏิชีวนะ รวมทั้งท้องผูกเรื้อรังก็มีงานวิจัยรับรองว่าสามารถใช้โปรไบโอติก (Probiotic) รักษาได้เช่นกัน

จุลินทรีย์รักษา ท้องเสีย


นอกจากโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) จะปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แล้ว ยังส่งผลดีต่อร่างกายหลายด้าน ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน และอาจช่วยป้องกันโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ และในการวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นพบกว่า การบริโภคโปรไบโอติก ยีสต์ (Probiotic Yeast) ยังเป็นการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีโดยตรงที่สามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยากลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้ด้วย

ถึงแม้อาการท้องเสีย อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่หากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเป็นเชื้อโรคชนิดร้ายแรง ก็อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ สิ่งสำคัญคือการเตรียมความพร้อมการออกเดินทาง และรู้จักป้องกันในขณะเดินทางเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานที่ถูกหลักอนามัย หลีกเลี่ยงอาหารจําพวกของหมักดองหรืออาหารรสจัด ล้างมือเป็นประจำทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร และมองหาตัวช่วยดีๆ อย่างโปรไบโอติกส์ ยีสต์ (Probiotic Yeast) ที่จะช่วยให้การท่องเที่ยว หรือการทำงานปกติในทุกวันของคุณมีแต่ความประทับใจและความสนุกสนาน ด้วยความปรารถนาดีจาก Mega We care 

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ล้างพิษ

โพรไบโอติก (Probiotic) มิตรแท้ระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร

‘โปรไบโอติกส์’ (Probiotics) จุลินทรีย์ชนิดดีกับการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค

ทั้งหมด

'ท้องอืด' บรรเทาด้วย 3 สมุนไพรจากธรรมชาติ