Search

ป้องกันไขมันพอกตับ ด้วยสารอาหารและวิตามินบำรุงตับจากธรรมชาติ 

บำรุงตับ
วิตามินบำรุงตับ ป้องกันไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ (Fatty Liver) คือ ภาวะของร่างกายที่เกิดการสะสมไขมันที่ตับมากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ ซึ่งเป็นโรคตับชนิดหนึ่งที่นำไปสู่การเกิด ตับอักเสบ ตับแข็ง และโรคมะเร็งตับได้ เพราะในช่วงอาการแรกเริ่มของไขมันพอกตับจะไม่แสดงความผิดปกติออกมาให้สังเกตได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ใครหลายคนไม่ได้ตระหนักถึงความผิดปกติเหล่านั้นและละเลยการรับประทานอาหารบำรุงตับ รวมถึง วิตามินบำรุงตับ ที่มีส่วนช่วยในการทำงานของตับอย่างเพียงพอ 

อันตรายของ ไขมันพอกตับ ต่อสุขภาพในระยะยาว

เนื่องจากตับ (Liver) เป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา ซึ่งหากเกิดการสะสมไขมันที่ตับมากจนเกินไปจะทำให้เกิดไขมันพอกตับ หรือไขมันเกาะตับ จนทำให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบและตายในที่สุด  ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดพังผืดที่ตับและกลายเป็นโรคตับแข็ง รวมถึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคตับอื่นๆ ตามมาด้วย ดังนั้นการป้องกันไขมันพอกตับที่ดีที่สุด คือ การป้องกันจากต้นเหตุ ซึ่งเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  • สาเหตุของไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกออฮอล์มากเกินไป (Alcohol  fatty liver disease) ซึ่งความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับประเภทของแอลกอฮอล์ ปริมาณตลอดจนระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปีอาจมีโอกาสเกิดไขมันพอกตับได้สูง
  • สาเหตุของไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกออฮอล์ (Non-alcohol related fatty liver disease ; NAFLD) อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น ภาวะอ้วนลงพุง ความดันโลหิตหรือไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ (110 มก./ดล.) การรับประทานอาหารแคลอรีสูง ผู้หญิงวัยทอง รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางอย่าง เป็นต้น

(ขอบคุณข้อมูลจาก สมิติเวช)

การลดไขมันในตับ ทำได้อย่างไรบ้าง?

การลดปริมาณไขมันเกาะตับที่นำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับควรทำควบคู่กันทั้งการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการดูแลสุขภาพตับด้วยการรับประทานอาหารบำรุงตับ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หากหยุดดื่มจะช่วยให้ตับสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ใน 4-6 สัปดาห์ แต่หากยังดื่มอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดขึ้นในเนื้อตับ จนนำไปสู่ภาวะตับแข็งได้ภายในเวลาประมาณ 10 ปี (ข้อมูลจาก สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย)
  • รับประทานยารักษาโรคเท่าที่จำเป็นตามแพทย์สั่ง หากพบว่าค่าตับผิดปกติ แพทย์อาจให้ยารักษาเพื่อช่วยให้ผลเลือดกลับมาปกติ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร​ โดยเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย วิตามินบำรุงตับ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรตปริมาณสูง เช่น ไขมันทรานส์ ขนมเบเกอรี แกงกะทิ เครื่องดื่มน้ำตาลสูง อาหารแปรรูป ฯลฯ นอกจากนี้ยังควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการแอโรบิกและการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านหรือเวทเทรนนิ่ง อย่างน้อย 150-200 นาที/สัปดาห์

วิตามินบำรุงตับ และสารอาหารที่ช่วยลดไขมันในตับ มีอะไรบ้าง?

อาหารที่อุดมไปด้วย วิตามินบำรุงตับ และแร่ธาตุที่มีส่วนช่วยในการทำงานของตับ รวมถึงช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับ ได้แก่

  • สารสกัดจากรากต้นแดนดิไลออน หรือที่เรียกว่า Dandelion root extract เป็นหนึ่งสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยส่งเสริมการขจัดสารพิษในตับและถุงน้ำดี ลดความรุนแรงของผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ถูกทำลายที่ตับ อีกทั้งยังช่วยป้องกันความบกพร่องของตับและเพิ่มการไหลเวียนของน้ำดี  จึงช่วยให้การย่อยไขมันในร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น ลดความเบื่ออาหาร และอาการบวมน้ำได้
  • วิตามินบี โดยเฉพาะ วิตามินบี 1 , บี 2 และ บี 5 ที่จำเป็นต่อเอนไซม์ตับ และมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด พบมากใน ไข่ นม ผักใบเขียว ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช บริเวอร์ยีสต์ หรือ Brewer’s Yeast ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อการเผาผลาญพลังงานที่ตับ
  • แอลเมไธโอนีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถจับกับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อตับได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดผลข้างเคียงจากยาบางชนิดได้ พบมากใน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเหลือง เป็นต้น
  • เลซิติน สารอาหารธรรมชาติที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ตับ พบมากใน ไข่ ตับ ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน บริเวอร์ยีสต์ ช่วยให้ตับเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยป้องกันตับถูกทำลายได้อีกด้วย อ่านต่อ : เลซิติน (LECITHIN) กับหลากหลายประโยชน์เพื่อสุขภาพ
  • โคลีน สารอาหารที่มีความสำคัญต่อการทำงานของตับและระบบเผาผลาญของร่างกาย ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ค้างในร่างกาย ซึ่งแหล่งที่พบโคลีนตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ตับ ปลา ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ผักใบเขียว เป็นต้น
  • ซิลิเนียม มีประสิทธิภาพในการจับกับโลหะหนักที่เป็นพิษต่อตับแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารที่ไม่ก่อพิษ จึงเป็นสารสำคัญชนิดหนึ่งที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งและต้านภาวะไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้
วิตามินบำรุงตับ ในอาหาร

นอกจากนี้ สมุนไพรบำรุงตับและพืชผักบางชนิดที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินบำรุงตับ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อตับมากขึ้น เช่น น้ำมันอีฟนิงพริมโรส (Evening Primrose Oil) ที่ช่วยจับกับแอลกอฮอล์และมีอิโนซิทอลที่ช่วยในการจับไขมันทำให้การทำงานของตับดีขึ้น รวมถึงสารสกัดจากแอปเปิล หรือ Apple Vinegar ที่ช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมันและลดการบวมน้ำได้ อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารบำรุงตับหรือวิตามินบำรุงตับโดยเฉพาะ ควรรับประทานควบคู่ไปกับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ มีความหลากหลายของสารอาหาร รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำและส่งผลให้ตับทำงานหนักขึ้น

อาหารที่ทำให้ตับทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคตับควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่คนเป็นโรคตับไม่ควรรับประทานบ่อยๆ คือ อาหารที่ส่งผลให้ไขมันสะสมที่ตับในปริมาณมากจนเกินไป เช่น

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม
    ถึงแม้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเล็กน้อยแต่ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งหรือตับอักเสบรุนแรงได้ จึงแนะนำให้ลดการดื่มแอลกอฮอล์โดยผู้ชายไม่ควรดื่มมากกว่า 4 หน่วยมาตรฐาน/วัน และผู้หญิงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกิน 2 หน่วยมาตรฐาน/วัน รวมถึงลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลมเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดไขมันพอกตับด้วยเช่นกัน
  • อาหารที่ให้พลังงานสูง
    อาหารบางประเภทที่ประกอบไปด้วย ไขมัน แป้ง และน้ำตาลสูง จะส่งผลให้ไขมันอุดตันในกระแสเลือดและเกิดการสะสมที่ตับ ซึ่งอาจทำให้เกิดพังผืดเกาะผิวตับและเกิดภาวะตับแข็งได้ จึงควรหลีกเลี่ยงหรือการจำกัดปริมาณในการรับประทานอาหารให้น้อยลง
  • อาหารที่มีโซเดียมสูง
    สำหรับผู้ที่มีตับแข็งหรือไขมันพอกตับอยู่แล้ว หากมีอาการตัวบวมหรือมีน้ำในท้องควรงดอาหารที่มีโซเดียมในปริมาณสูง เช่น อาหารรสจัด อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า การดูแลสุขภาพตับจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยหันมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้นหรืออาหารที่อุดมไปด้วย วิตามินบำรุงตับ และแร่ธาตุสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมันที่ตับ รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลให้ตับทำงานหนักและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะช่วยฟื้นฟูตับให้สุขภาพดีขึ้นได้ในระยะยาวได้ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะไขมันพอกตับหรือโรคตับอื่นๆ อาจไม่มีอาการแสดงในระยะแรก จึงควรตรวจสุขภาพกับแพทย์อย่างละเอียด เพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว 

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

โรคตับ

ดูแลสุขภาพ ‘ตับ’ ให้แข็งแรงด้วยสารอาหารที่สำคัญ

บำรุงตับ

เสริมสร้างความแข็งแรงให้ 'ตับ' เพื่อสุขภาพที่ดี

บำรุงตับ

อ่านแล้วรู้ทันที... อะไรคือสารอาหารที่ดีสำหรับตับของคุณ