เลซิติน (Lecithin) คือสารสำคัญธรรมชาติที่ประกอบจากกรดไขมัน ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน (Choline) และอินโนซิทอล (Inositol) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับระบบสมอง หัวใจ และตับ โดยทั่วไปเรามักได้รับเลซิตินจากอาหารที่กิน แต่บางครั้งมันอาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เลซิตินสามารถพบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะในไข่แดง ถั่วเหลือง และเมล็ดทานตะวัน นอกจากนี้ยังพบได้มากที่อวัยวะสำคัญของมนุษย์ เช่น หัวใจ ตับ ไต และสมอง ที่จะมีเลซิตินเป็นส่วนประกอบมากถึง 30%
1. มีส่วนช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด
เลซิตินมีคุณสมบัติในการช่วยให้ไขมันคอเลสเตอรอลไม่จับตัวเป็นก้อน จนไปอุดตันผนังหลอดเลือด โดยร่างกายสามารถขับไขมันเหล่านี้ออกเองได้ จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน รวมถึงสมองและหัวใจขาดเลือด
นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเพิ่มการเผาผลาญ และการขับถ่ายไขมันคอเลสเตอรอลผ่านทางอุจจาระ อีกทั้งยังช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลรวมในเลือด (Total Cholesterol)
2. บำรุงตับ
ในสารอาหารเลซิตินจะมีสารสำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นตับให้เผาผลาญ และทำงานได้ดีขึ้น ช่วยบำรุงเซลล์ตับ พร้อมช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติจากสารเคมีและสารพิษต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ และยา รวมถึงลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคตับได้
3. ลดภาวะไขมันพอกตับ
โคลีน (Choline) คืออีกหนึ่งสารสำคัญที่อยู่ในเลซิติน ทำหน้าที่คอยเร่งการทำงานของระบบเผาผลาญไขมันที่ตับ ให้ไขมันถูกดึงไปใช้เป็นพลังงานมากขึ้น ดังนั้นหากร่างกายขาดโคลีนไป ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไขมันพอกตับได้มาก
4. บำรุงสมอง เสริมความจำ
เลซิตินมักถูกดึงไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆ โดยมีการค้นพบว่าร่างกายจะนำโคลีนไปใช้เพื่อสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์ และระหว่างเซลล์สมองไปยังส่วนอื่นๆ และคอยทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลและความรู้สึกออกมาในด้านพฤติกรรมต่างๆ ตามคำสั่งของสมอง
นอกจากนี้เลซิตินยังเป็นแหล่งสารอาหารสำคัญต่อสมองในการความจำ เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของสมองจึงเหมาะได้กับวัยทำงาน
5. ประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกาย
การกินเลซิตินยังช่วยเรื่องสุขภาพด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ควบคุมน้ำหนัก และกระตุ้นการดูดซึมวิตามินที่ละลายไขมันได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเลือกกินเลซิตินก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเลซิตินที่ดีนั้น จะต้องเป็นเลซิตินบริสุทธิ์ สกัดจากถั่วเหลือง ที่ไม่ผ่านการฟอกสี หรือสารอันตรายต่อตับ ที่สำคัญควรเลือกจากแหล่งที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยาระดับสากลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก GMP ของประเทศไทย / BfArM ของประเทศเยอรมัน และ TGA ของประเทศออสเตรเลีย เพื่อความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาว
-