Search

อาหารทางการแพทย์ (Medical food) เคล็ดลับการฟื้นฟูร่างกาย

อาหารทางการแพทย์

อาหารทางการแพทย์ (Medical Food) คือ อาหารที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการรับประทาน หรือให้ผ่านระบบทางเดินอาหารภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยมีวัตุประสงค์ที่จะให้อาหารทางการแพทย์ที่มีสารอาหารจำเป็นและสำคัญเข้าไปเสริมความแข็งแรงให้ร่างกายเพื่อใช้รักษาโรค หรือภาวะที่ต้องการสารอาหารเป็นพิเศษ โดยอาหารทางการแพทย์สามารถให้เป็นสารอาหารจากแหล่งเดียวแบบครบถ้วน หรือเสริมจากมื้ออาหารปกติ

ใครที่สามารถจะรับประทานอาหารทางการแพทย์ได้?

คนที่จะสามารถรับประทานอาหารทางการแพทย์ได้ ต้องพิจารณาจากหลัก 4 ข้อดังนี้

  1. คนที่มีภาวะขาดสารอาหาร หรือเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการในระดับปานกลาง-รุนแรง เช่น คนที่น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
  2. คนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น คนที่กินอาหารได้น้อยเพียงแค่ ¼ ส่วน ในแต่ละมื้ออาหารนานเกิน 7 วัน
  3. คนป่วยที่ระบบทางเดินอาหารยังคงทำงานตามปกติ
  4. ต้องไม่ใช่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถนำสารอาหารต่างๆ ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาหารทางการแพทย์ มีกี่ประเภท?        

ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนการจะแบ่งอาหารทางการแพทย์สามารถออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ โดยในท้องตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์มีทั้งแบบชนิดน้ำพร้อมรับประทาน และชนิดผง ซึ่งต้องผสมน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดเพื่อความเข้มข้นของพลังงานตามที่ต้องการ

1. อาหารทางแพทย์สูตรอาหารครบถ้วน ที่มีส่วนประกอบของสารอาหารตามความต้องการของร่างกาย โดยมีสัดส่วนดาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 45-60 ไขมันร้อยละ 30 -40 และโปรตีนร้อยละ 10-20 

2. สูตรอาหารเฉพาะโรค เป็นสูตรอาหารที่มีการดัดแปลงสารอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะโรค

ประโยชน์ของอาหารทางการแพทย์

1.  ใช้เป็นอาหารหลัก หรือเสริมแทนอาหารหลักแต่ละมื้อสำหรับคนป่วย เหมาะสำหรับคนที่รับประทานอาหารไม่ได้ตามปกติ โดยเฉพาะคนป่วยในบางโรค เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ เช่น คนป่วยโรคไต หรือโรคเรื้อรังที่เสี่ยงเกิดภาวะทุพโภชนาการ รวมทั้งคนป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง

2.  ใช้เป็นอาหารเสริมในการให้พลังงานสำหรับคนที่มีปัญหาการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร หรือระบบย่อยอาหารเสื่อมประสิทธิภาพลง หรือมีภาวะเบื่ออาหาร รวมทั้งคนป่วยหลังผ่าตัดที่ต้องการฟื้นฟูสภาพร่างกาย รวมทั้งคนป่วยที่เป็นโรคมะเร็งซึ่งได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วนเหมาะกับใคร?

1.  คนที่ไม่สามารถได้รับโภชนาการที่เพียงพอจากการกินอาหารปกติ

2.  คนป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ เป็นต้น

3.  คนที่ร่างกายต้องการสารอาหารบางชนิดเป็นพิเศษ หรือคนที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

4.  คนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารมื้อทั่วไปได้อย่างเพียงพอ เช่น คนสูงอายุ

อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้สูงอายุควรมีส่วนประกอบใดบ้าง?

1.  ต้องมีส่วนประกอบของโปรตีนคุณภาพสูงที่ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว และต้องไม่มีส่วนผสมของเคซีนที่ทำให้ท้องอืด

2.  ควรต้องมีไขมันชนิดดี หรือกรดไขมันอิ่มตัว (MCT Oil) ซึ่งคนที่มีปัญหาการย่อยไขมันก็สามารถรับประทานได้ เพราะหากเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัวจะทำให้ดูดซึมช้า เพราะต้องผ่านกระบวนการย่อยอาจทำให้เกิดการสะสมที่เซลล์ตับได้

3.  ควรต้องมีโปรไบโอติกส์ปริมาณสูงอยู่ในส่วนประกอบ เนื่องจากสามารถช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

4.  ต้องมีดัชนีน้ำตาลต่ำ ซึ่งจะดีต่อคนที่เป็นโรคเบาหวาน และคนที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสามารถสร้างสมดุลของน้ำตาลในเลือดได้

5.  ต้องมีกากใยอาหาร เพื่อช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ลดปัญหาอาการท้องผูก และช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ใหญ่

อาหารทางการแพทย์ เวย์โปรตีน
อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

บำรุงร่างกายทั่วไป

ประโยชน์ของวิตามินอี

บำรุงร่างกายทั่วไป

เวย์โปรตีนสำหรับผู้ป่วย