Search

ยาแก้แพ้ มีกี่ชนิด

หวัด ภูมิแพ้
ยาแก้แพ้


ในปัจจุบันหากจะนึก ยาแก้แพ้ ที่ขายในท้องตลาดก็มีหลากหลายยี่ห้อ มีข้อบ่งชี้ ข้อควรระวังในการใช้ และส่วนประกอบของยาที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากจะเลือกรับประทานยาแก้แพ้ สิ่งสำคัญเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาแก้แพ้ให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยต่อตนเอง เนื่องจากมีหลายคนยังคงสงสัยว่ายาแก้แพ้ มีกี่ชนิด และยาแก้แพ้แท้ที่จริงแล้ว คืออะไร

ยาแก้แพ้ คืออะไร และมีกี่ชนิด

ยาแก้แพ้ (Antihistamines) เป็นกลุ่มยาต้านสารฮีสตามีน มีคุณสมบัติในการยับยั้งตัวรับสารฮิสตามีนที่เป็นต้นเหตุของอาการแพ้ เช่น ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิแพ้ผิวหนัง ภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้ทางดวงตา โดยยาแก้แพ้ สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ

ยาแก้แพ้แบบง่วง ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 (First generation antihistamine)

เป็นยาแก้แพ้แบบดั้งเดิม เช่น คลอเฟนิลามีน ไดเฟนไฮดรามีน ไฮดรอกไซซีน และไดเมนไฮดริเนต ยากลุ่มนี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้มีอาการง่วงซึม นอกจากมีผลข้างเคียงทำให้ง่วงแล้ว ยาชนิดนี้ยังมีฤทธิ์ต้านระบบประสาทชนิดโคลเนอร์จิก ทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้ง เสมหะและน้ำมูกเหนียวข้น ท้องผูก ปัสสาวะขัดในผู้ชาย แต่ยากลุ่มนี้ไม่สามารถควบคุมอาการแพ้ได้ตลอดทั้งวันจึงต้องรับประทานยาวันละหลายครั้ง

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง ยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 (Second generation antihistamine)

ยาแก้แพ้ชนิดนี้ถูกพัฒนามาจากชนิดเดิมเพื่อลดข้อบกพร่อง และได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถดูดซึมเข้าสู่สมองได้น้อยกว่าแบบเดิมจึงไม่ทำให้ง่วงซึม (หรือมีอาการง่วงซึมน้อยในผู้ใช้ยาบางราย) โดยยากลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ประมาณ 24 ชั่วโมง เพราะสามารถจับกับตัวรับฮีสตามีนได้แน่นและนานขึ้น ทำให้ควบคุมอาการแพ้ได้ตลอดทั้งวัน และไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งจะแตกต่างจากยารักษาภูมิแพ้กลุ่มเก่าจึงสามารถรับประทานยาเพียง 1-2 เม็ดต่อวัน โดยกลุ่มยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง ได้แก่ ลอราทาดีน (loratadine) เซทิริซีน (cetirizine) เป็นต้น

ชนิดของ ยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้ ต้องเลือกซื้ออย่างไรให้มีปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

ถึงแม้ในท้องตลาดปัจจุบันจะมียาแก้แพ้ให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ แต่ส่วนประกอบในยาจะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากจะต้องเลือกรับประทานจึงควรพิจารณาถึงประโยชน์ การรักษาอาการแพ้อย่างมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และเหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุด โดยยึดหลักดังต่อไปนี้

  1. เลือกซื้อยาแก้แพ้จากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาต โดยมีเภสัชกรประจำอยู่ในร้าน
  2. เลือกยาแก้แพ้ที่มีส่วนประกอบและสรรพคุณที่เหมาะสม
  3. ตรวจสอบภาชนะบรรจุยาให้อยู่ในความเรียบร้อย ไม่ฉีดขาด และมีเอกสารกำกับยาครบถ้วน
  4. สังเกตวันหมดอายุของยาที่แจ้งไว้บนฉลาก วัน /เดือน /ปี ที่ผลิตยา
  5. เลือกยาแก้แพ้ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ดี เพื่อควบคุมอาการแพ้ได้ตลอดทั้งวันและไม่ส่งผลเสียในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  6. เลือกยาแก้แพ้ในรูปแบบแคปซูลนิ่มเพื่อการออกฤทธิ์ที่เร็วขึ้น จึงไม่ต้องรอการแตกตัวของยา
    และไม่จำเป็นต้องรับประทานหลายเม็ด
  7. เลือกยาแก้แพ้ในกลุ่มที่ 2 ที่มีลอราทาดีน (loratadine) และเซทิริซีน (cetirizine) ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีผลข้างเคียงน้อยทำให้ไม่ส่งผลเสียในการดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถใช้ตอนกลางวัน หรือขณะทำงานได้
    โดยไม่ทำให้ง่วงซึม (แต่อาจมีอาการง่วงซึมเล็กน้อยในผู้ใช้ยาบางราย)

ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้แพ้

  1. ไม่รับประทานยาร่วมกับสุราหรือสิ่งที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เพราะจะยิ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์กดประสาท และทำให้ง่วงซึมมากกว่าเดิม
  2. ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยโรคตับ ร่วมถึงหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในการให้นมบุตร
  3. คนที่รับประทานยาแก้แพ้ควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักร หรือการขับขี่ยานพาหนะต่าง ๆ
    เพราะยาแก้แพ้บางชนิดจะทำให้ง่วงซึม โดยสามารถเลือกใช้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงแทน เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) หรือเซทิริซีน (Cetirizine)
อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

หวัด ภูมิแพ้

ไขข้อข้องใจ…ทำไมกินยาแก้แพ้แล้วไม่หายสักที

หวัด ภูมิแพ้

ยาแก้แพ้ กับเรื่องที่ต้องรู้

หวัด ภูมิแพ้

รคภูมิแพ้แก้ได้ เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็คิดว่ายาก