มารู้จัก SAD โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว และวิธีรับมือเมื่อเกิดอาการ

โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว

โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว หรือ ที่เรียกอีกอย่างว่า โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder หรือ SAD) เป็นภาวะซึมเศร้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนที่อากาศหนาวเย็น

โรคนี้สามารถทำให้เกิดความแปรปรวนทางอารมณ์ ทั้งความรู้สึกเศร้า หดหู่ รู้สึกเฉื่อยชา อ่อนเพลีย อยากนอนตลอดเวลา ไม่อยากเข้าสังคม รู้สึกหมดหวัง และรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ มากกว่าผู้ชาย 4 เท่า พบมากในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

สาเหตุของโรคซึมเศร้าในฤดูหนาว (SAD)

  1. ในช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงฤดูกาลที่มีช่วงเวลาของแสงแดดที่สั้นกว่าฤดูกาลปกติ อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแสงแดดได้น้อย เมื่อร่างกายได้รับแสงแดดที่น้อยลง จะมีผลต่อการผลิตเซโรโทนินลดลงที่เกี่ยวข้องกับสมดุลอารมณ์
  2. การเปลี่ยนแปลงของจังหวะชีวภาพ (Circadian Rhythm) โดยแสงสว่าง จะส่งผลต่อจังหวะชีวภาพของร่างกาย ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทในสมอง
  3. ความไม่สมดุลของเมลาโทนิน จากการได้รับแสงแดดน้อยลง อาจส่งผลต่อการผลิตเมลาโทนินที่มากผิดปกติ ซึ่งเป็นฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ และการตื่นนอน

ความเสี่ยงของคนไทยต่อโรคซึมเศร้าในฤดูหนาว (SAD)

แม้ว่าโรค SAD จะพบมากในประเทศที่มีฤดูหนาวยาวนานและแสงแดดน้อย แต่ในประเทศไทยก็มีรายงานว่า ในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีแสงแดดน้อย ก็ส่งผลต่ออารมณ์ และสุขภาพจิตของคนไทยได้ นอกจากนี้การอยู่ในพื้นที่ปิด หรืออยู่ในอาคารติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ หรือคนที่ทำงานและใช้ชีวิตกลางคืนอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้ด้วยเช่นกัน

วิธีป้องกันและรับมือกับโรค

  1. พยายามรับแสงแดดให้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงเช้า
  2. ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มระดับเซโรโทนิน ให้ร่างกาย
  3. ปรับสภาพแวดล้อม เปิดม่านรับแสงแดด จัดพื้นที่ให้มีแสงสว่างเพียงพอ และใช้สีสันสดใสตกแต่งที่อยู่อาศัย
  4. กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี โปรตีนไขมันต่ำ และเลี่ยงน้ำตาล หรือ อาหารแปรรูป
  5. กินวิตามินดีเสริม เนื่องจากเป็นวิตามินที่ช่วยควบคุมระดับเซโรโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่ออารมณ์
    การขาดวิตามินดี อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้า รวมถึงภาวะ SAD ด้วย
  6. ควรปรึกษาจิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หากมีภาวะเครียดรุนแรง หรือ มีอาการซึมเศร้า

📌 สนใจข่าวสารสุขภาพเพิ่มเติม และสอบถามผู้เชี่ยวชาญของ 𝐌𝐄𝐆𝐀 𝐖𝐞 𝐜𝐚𝐫𝐞 ได้ที่ 𝐋𝐢𝐧𝐞@ : @𝐦𝐞𝐠𝐚𝐰𝐞𝐜𝐚𝐫𝐞 หรือ คลิก

อ้างอิง
  1. What are winter blues and how to combat it?
  2. ฐานข้อมูลวิตามิน และสารอาหาร MEGA We care
อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน