Search

โรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไร ภัยเงียบที่ผู้สูงอายุต้องระวัง

ทั้งหมด
โรคกระดูกพรุน ผู้สูงอายุ

หากจะพูดถึงโรคทางกระดูกที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุคงหนีไม่พ้น โรคกระดูกพรุน ซึ่งผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนนั้นมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และผู้ป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว ทำให้ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น!! คำถามคือโรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร? ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนต้องดูแลตัวเองอย่างไร? ตาม MEGA We care ไปหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้พร้อม ๆ กัน

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คืออะไร ?

โรคกระดูกพรุน เกิดจากความหนาแน่นของกระดูกและแคลเซียมในกระดูกนั้นเริ่มลดลงกว่าปกติ จึงส่งผลให้กระดูกมีความเปราะบางไม่สามารถรับน้ำหนักได้เหมือนเดิมซึ่งอายุที่เพิ่มมากขึ้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค โดยเฉพาะเมื่อมีอายุ 40+ ปี ฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกายจะผลิตได้น้อยลง หรือที่เรียกว่าภาวะพร่องฮอร์โมน ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการสร้างกระดูกลดลง จนกระดูกบางลง กระดูกจึงเปราะ หรือหักได้ง่ายกว่าคนในช่วงวัยอื่น ๆ นอกจากการเสื่อมสลายของแคลเซียมที่เป็นไปตามวัยแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำเกิดภาวะกระดูกพรุนในกลุ่มผู้สูงวัยได้อีกด้วย ดังนี้

  1. ดื่มกาแฟเป็นประจำ
    เนื่องจากคาเฟอีนในกาแฟจะไปขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย และเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
  2. ไม่ชอบออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย
    จากสถิติพบว่าคนที่ไม่ชอบออกกำลังกายมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. ดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
    แอลกอฮอล์จะเข้าไปลดประสิทธิภาพการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมได้เร็วขึ้น
  4. สูบบุหรี่เป็นประจำ
    สารพิษในบุหรี่ โดยเฉพาะนิโคติน (Nicotine) จะไปทำลายเซลล์ของมวลกระดูกให้บางลง
  5. ร่างกายขาดแร่ธาตุแคลเซียมหรือวิตามินดี
    สาเหตุหนึ่งของโรคกระดูกพรุน เกิดจากการขาดสารอาหารในร่างกายบางอย่าง โดยเฉพาะแคลเซียม (Calcium) และวิตามินดี รวมทั้งการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก
  6. หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง
    ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเริ่มลดลงจึงส่งให้มวลกระดูกเสื่อมลง โดยจากผลการสำรวจพบว่าเมื่อเข้าสู่วัยทองแล้วมวลกระดูกจะลดลงปีละ1-2%

และเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแย่ลง เพราะต้องทนกับอาการปวดหลัง หลังโก่งงอ เคลื่อนไหวได้ลำบาก ปอดทำงานได้ไม่ดีทำให้เหนื่อยง่าย หรือแม้แต่ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก ดังนั้นการดูแลรักษามวลกระดูกในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และกระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ

โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้อย่างไร ?

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิก หรือการรำมวยจีน จะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์
  • ออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ในตอนเช้าหรือตอนเย็น วันละ10-15 นาที จะช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดีได้ดีขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง เช่น นม ชีส ปลาตัวเล็ก และผักใบสีเขียวเข้ม

และนอกเหนือจากโรคกระดูกพรุนด้วยการดูแลตัวเองที่ได้แนะนำไปแล้ว ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุได้ด้วยการเสริมสารอาหารจากธรรมชาติสูตร StimuCal ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่าง Ossein-Hydroxyapatite Complex (OHC), Vitamin D3 และ Vitamin K

สารอาหารจากธรรมชาติสูตร StimuCal

  • Ossein-Hydroxyapatite Complex (OHC) เป็นสารอาหารจากธรรมชาติ 100% ที่สกัดได้จากกระดูกวัว มีส่วนประกอบของแคลเซียม โปรตีน และฟอสฟอรัสที่ช่วยสร้างความหนาแน่นของเนื้อกระดูก ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Vitamin D3 ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี และช่วยเสริมการสร้างของกระดูก
  • Vitamin K2 ช่วยสร้างความแข็งแรงให้มวลกระดูกจากการสร้างโปรตีนที่มีชื่อว่า ออสทีโอแคลซิน (Osteocalcin) ซึ่งจะทำงานร่วมกับ Vitamin D3 ในการเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก และยังลดการเกาะของแคลเซียมหรือหินปูนที่หลอดเลือดแดงที่ไปเกาะเนื้อเยื่อกระดูกได้ดีขึ้น
และนอกจากโรคกระดูกพรุนที่เป็นภัยเงียบของผู้สูงอายุแล้ว อีกหนึ่งภัยเงียบที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นชินคือ หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของผนังหลอดเลือดหัวใจหรือความเสื่อมโดยธรรมชาติจึงทำให้เกิดคราบ “หินปูน” หรือ “แคลเซียม” มาเกาะบริเวณภายในหลอดเลือด เมื่อเกิดการเกาะแน่นเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัว เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากภาวะอุดตัน ในบางรายหากมีอาการรุนแรงอาจเกิดอาการเส้นเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด

การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ป้องกันโรคกระดูกพรุน

สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองอุดตัน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีร่างกายปกติและสุขภาพแข็งแรง แม้จะฟังดูน่ากลัว แต่ภาวะหินปูนเกาะหลอดเลือดสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเน้นอาหารประเภทโปรตีน ผัก ผลไม้ ธัญพืช ให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ รวมถึงตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง เป็นต้น นอกจากนี้การเสริมสารอาหารจากธรรมชาติสูตร StimuCal ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญอย่าง Ossein-Hydroxyapatite Complex (OHC), Vitamin D3 และ Vitamin K2 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลดความเสี่ยงของภาวะหินปูนเกาะหลอดเลือดได้เช่นกัน

อ่านต่อ : สูงวัย ทำไมต้องใส่ใจกระดูกและข้อมากกว่าเดิม

แต่อย่างไรก็ตามเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัยและทุกคนในครอบครัว แนะนำว่าควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทุกปี หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้กระดูกบางหรือกระดูกพรุน และที่สำคัญต้องเลือกกินอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเหมาะสมกับสภาพร่างกาย ด้วยความห่วงใยจาก_ MEGA We care

อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ข้อเสื่อม

ข้อกระดูกเสื่อมหรือไม่ เช็คอาการได้ด้วยตนเอง

ข้อเสื่อม

เพิ่มความแข็งแรงให้ข้อเข่า ด้วย “ไฮโดรไลเซต คอลลาเจน ”

กระดูกพรุน

2 ตัวช่วยหมดปัญหากระดูกและข้อ