Search

10 ประโยชน์ของใบแปะก๊วย และวิธีเลือกซื้ออย่างฉลาด

บำรุงสมองเสริมความจำ
ประโยชน์ใบแปะก๊วย วิธีเลือกซื้อ

ใบแปะก๊วย (Ginkgo) สมุนไพรโบราณที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาทางการแพทย์แผนจีนมาอย่างช้านาน เพราะมีสรรพคุณทางยาหลายชนิด อีกทั้ง ประโยชน์ใบแปะก๊วย (Ginkgo) ยังช่วยบำรุงร่างกายและบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสมอง ระบบไหลเวียนโลหิต มีการนำผลแปะก๊วยมาประกอบอาหารในรูปแบบต่างๆ แต่ไม่ใช่ส่วนที่มีสารสำคัญที่ช่วยบำรุงสมอง เพราะสารสำคัญเหล่านั้นอยู่ในส่วนของใบและไม่นิยมนำมาประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน

สารสำคัญในแปะก๊วยที่มีสรรพคุณทางยา

แปะก๊วย ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Ginkgo biloba มีถิ่นกำเนิดจากทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรและผลิตยาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีสารประกอบทางเคมีที่สำคัญอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ 

  • กลุ่มเทอร์ปินอยด์ (Terpenoids) ประกอบด้วย กิงโกไลด์ (Ginkgolide) และ บิโลบาไลด์ (Bilobalide) 
  • กลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) รวมไปถึงสเตียรอยด์ (Steroids) อนุพันธ์กรดอินทรีย์และน้ำตาล

ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง รวมทั้งปลายมือและปลายเท้า ปัจจุบันได้มีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมาผสานกับ ฟอสโฟไลปิด (Phospholipids) ให้อยู่ในรูปแบบไฟโตโซม (Phyto some) เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ประโยชน์ใบแปะก๊วยได้ดีขึ้น ไม่เพียงเท่านี้สารสกัดใบแปะก๊วยในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยังช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ และกลุ่มอาการนอนไม่หลับอีกด้วย 

10 คุณประโยชน์จากใบแปะก๊วย  

1.  สารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ใบแปะก๊วยมีสารสำคัญที่ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายและชะลอการเสื่อมของสมองจากอายุที่เพิ่มขึ้นและสารอนุมูลอิสระ

2. กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของร่างกายและสมอง เนื่องจากใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ที่ช่วยทำให้ออกซิเจนสามารถไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ดี นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยที่พบว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นเวลา 24 สัปดาห์ อาจช่วยให้ผู้ที่มีการไหลเวียนเลือดที่ขาไม่ดีสามารถเดินได้ไกลขึ้นได้โดยไม่ปวดขาอีกด้วย

3. ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากใบแปะก๊วย (Ginkgo) สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงสมองได้ดี ซึ่งส่งผลดีในการช่วยปกป้องการสูญเสียความทรงจำ รวมทั้งบำรุงความจำ และบรรเทาอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1994 พบว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่รับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยมีความจำที่ดีขึ้นอีกด้วย

4. ช่วยลดอาการเวียนหัวบ้านหมุน โดยการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ขนาด 240 มก.ต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการเวียนหัวบ้านหมุนเท่ากับเบตาฮีสทีน (ยาที่ใช้รักษาอาการเวียนหัว) ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน 

5. เพิ่มสมาธิและความจำดีขึ้น มีผลวิจัยที่ทำในกลุ่มตัวอย่างคนทำงาน พบว่า วัยทำงานที่รับประทานแปะก๊วย ในปริมาณ 120-240 มก.ต่อวัน จะมีการพัฒนาทางความคิด ความจำ และสมาธิเพิ่มขึ้น

6. การศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (ISSHL) ที่สูญเสียการได้ยินอย่างน้อย 15 เดซิเบลขึ้นไป จำนวน 106 คน พบว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย 120 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มความเร็วในฟื้นตัวของผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ได้

7. ใบแปะก๊วย (Ginkgo) ช่วยต้านโรคซึมเศร้าสำหรับคนป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบทั่วไป มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับยาที่ใช้รักษาอาการโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ 

8. ประโยชน์ในการลดอาการ PMS หรืออาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง โดยการรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยช่วยให้อาการกดเจ็บที่เต้านมและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรงน้อยลง

นอกจากนี้ การศึกษายังพบว่าการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยเป็นประจำติดต่อกัน 6 เดือน ช่วยให้ผู้ชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศดีขึ้นมากถึง 50% และช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังองคชาตได้ดีมากขึ้นอีกด้วย

9. ใบแปะก๊วย (Ginkgo) มีส่วนช่วยบรรเทาความกังวล โดยในต่างประเทศมีการวิจัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งรับประทานยาหลอก ซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากแปะก๊วย (Ginkgo Extract) มีภาวะทางจิตใจที่ผ่อนคลายและอารมณ์คงที่มากกว่ากลุ่มที่ให้ยาหลอก

10.  ป้องกันการสูญเสียการมองเห็น จากการศึกษาพบว่าการให้สารสกัดใบแปะก๊วย (95% เอธานอล) ทำให้การมองเห็นระยะยาวและลานสายตาดีขึ้น นอกจากนี้ประโยชน์ของสารสกัดใบแปะก๊วยยังช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานที่จอประสาทตาเสื่อมในระยะ

อ่านต่อ : ใบแปะก๊วย กับคุณประโยชน์ทางการแพทย์

10 ประโยชน์ใบแปะก๊วย

การเลือกซื้อใบแปะก๊วย (Ginkgo) มารับประทานที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

ในปัจจุบันมีการนำเอาใบแปะก๊วยมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบแคปซูลเพื่อสะดวกในการรับประทานมากมายหลายยี่ห้อ บางยี่ห้อได้มาตรฐาน แต่บางยี่ห้อก็ไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาในประเทศไทย ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างมาก ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงได้แนะนำวิธีการเลือกซื้อสารสกัดใบแปะก๊วยที่ถูกต้องโดยมีหลักดังต่อไปนี้  

  1. ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยาระดับสากล เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ว่า ปลอดภัย และไม่มีสิ่งปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง และเชื้อรา
  2. ควรเลือกซื้อในรูปแบบสารสกัดมาตรฐาน (Standardized) ที่มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญ และสาร Ginkgolic Acid (สารพิษ)ให้อยู่ในระดับต่ำสุดตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากสารดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ชีพจรเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน
  3. ควรเลือกซื้อในรูปแบบแคปซูลนิ่ม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารสำคัญได้ดีขึ้น ทำให้ออกฤทธิ์ได้ดีกว่ารูปแบบเม็ดตอก
  4. ก่อนการเลือกซื้อควรปรึกษาเภสัชกร และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการรับประทาน ปริมาณ และวิธีรับประทานที่ถูกต้อง

การเลือกรับประทานใบแปะก๊วย (Ginkgo) ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ในปัจจุบันมีการนำ สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo) มาเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น นม กาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มสารสกัดจากใบแปะก๊วยบรรจุขวดพร้อมดื่ม ซึ่งถือได้ว่าสะดวกต่อการรับประทาน แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ร่างกายจะได้รับสารสำคัญจากใบแปะก๊วยในปริมาณเท่าไหร่และเพียงพอต่อการดูแลสุขภาพหรือไม่

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ ประโยชน์ใบแปะก๊วย (Ginkgo) อย่างสูงสุด ควรเลือกรับประทานสารสกัดที่อยู่ในรูปแบบของแคปซูลนิ่มที่ได้มาตรฐานยาระดับสากล เพราะนอกจากจะง่ายต่อการรับประทานแล้ว ยังมั่นใจได้ว่าร่างกายจะได้รับสารสำคัญและคุณประโยชน์ของใบแปะก๊วยอย่างครบถ้วน …ด้วยความห่วงใยจาก MEGA We care


อ้างอิง

1.  สถาบันการแพทย์แผนไทย
2.  https://www.pobpad.com/แปะก๊วยและคุณประโยชน์
3.  https://medthai.com/แปะก๊วย/
4.  https://health.kapook.com/view126836.html
5.  http://www.fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/2016-04-26-06-50-20/food-news-main-menu-3/fic-food-news-menu/601-food2-20-08-2018
6.  http://www.fic.ifrpd.ku.ac.th/

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ภาวะนอนไม่หลับ

วาเลอเรียน สมุนไพรที่ช่วยให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ

ภาวะนอนไม่หลับ

อยากนอน แต่นอนไม่หลับ

ภาวะนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ ปัญหาสุขภาพวัยสูงอายุ