Search

ดีเอชเอ (DHA) ประโยชน์ต่อสมองและสายตา

บำรุงสมองเสริมความจำ
DHA คือ

รู้หรือไม่… การทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเกิดจากสมองทั้งสิ้น สมอง (Brain) จึงเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกายที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพและความฉลาดของแต่ละคน จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า 40% ของกรดไขมันในสมอง และ 60% ของกรดไขมันในประสาทตา คือ ดีเอชเอ (DHA) ทำให้กรดไขมันที่มีคุณค่านี้สำคัญ และจำเป็นต่อการพัฒนาการของสมองและสายตา

ดีเอชเอ (DHA) คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

ดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid; DHA) คือ กรดไขมันจำเป็นในกลุ่ม Omega-3 ที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้จากการับประทานอาหารจำพวกปลาทะเลน้ำลึกในเขตหนาว เช่น ปลาแองโชวี่ ปลาทูน่าและปลาแซลมอน โดยกรดไขมันชนิดนี้มีความสำคัญต่อพัฒนาการสมองและสายตาตั้งแต่ทารกในครรภ์ไปจนถึงวัยสูงอายุ รวมทั้งประโยชน์อื่นๆ มากมายที่ดีต่อร่างกาย เช่น

1.  ช่วยเสริมพัฒนาการสมอง และสายตาให้กับเด็ก
ในช่วงตั้งครรภ์ทารกจะได้รับดีเอชเอผ่านทางสายรก ซึ่งจะช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว และลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และเมื่อถึงระยะ 3 เดือนก่อนและหลังคลอดจนถึงอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สมองเจริญเติบโตสูงสุดในชีวิต ทารกยิ่งจะมีความต้องการดีเอชเอในปริมาณสูง เพื่อนำไปใช้ในการเสริมพัฒนาสมอง ระบบประสาท และสายตา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้หญิงตั้งครรภ์ระหว่าง 25-35 สัปดาห์และสตรีที่ให้นมบุตร ควรได้รับดีเอชเอในปริมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวัน

ดีเอชเอ DHA

2.  ช่วยเพิ่มสมาธิ และป้องกันโรคสมาธิสั้นของเด็กวัยเรียน
เด็กต้องใช้สมองและสายตามากเป็นพิเศษ เพื่อการเรียนรู้ด้านภาษา ฝึกทักษะความคิดต่างๆ เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับดีเอชเออย่างเพียงพอ โดยในประเทศญี่ปุ่นการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีการแข่งขันสูง ทำให้นักเรียนนิยมรับประทานกรดไขมันชนิดนี้ก่อนสอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความจำและเสริมสมาธิ

นอกจากนี้ ระดับดีเอชเอในสมองที่สมดุลยังช่วยป้องกันเด็กจากโรคสมาธิสั้น ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมสมาธิและการเคลื่อนไหวของตนเองจนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ผลการเรียนตกต่ำ ถึงแม้ระดับสติปัญญาจะปกติ แต่จะพบปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น และเพิ่มโอกาสการเกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมาในอนาคตเพราะเนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายเด็กในการเปลี่ยนสาร Alpha-Linoleic Acid ที่เป็นสารตั้งต้นไปเป็นดีเอชเอได้เพียง 0.2% ของปริมาณที่ได้รับทั้งหมด จึงทำให้พบว่า 40% ของเด็กที่เกิดโรคสมาธิสั้น จะมีปัญหาของการมีระดับดีเอชเอในเลือดต่ำ ดังนั้นเด็กวัย 1-12 ปี ควรได้รับปริมาณดีเอชเออย่างเพียงพอประมาณ 20 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ดีเอชเอ DHA ในสมอง

3.  ช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้สมองคนวัยทำงาน

คนวัยทำงานมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า (Depression) อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายและนอนไม่หลับ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียดมากขึ้น การได้รับดีเอชเอ 300 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ เพราะไม่เพียงแต่ป้องกันโรคซึมเศร้าได้ ยังมีส่วนช่วยคืนความสดชื่นให้กับสมองที่อ่อนล้าจากการใช้ความคิดในการทำงานแต่ละวัน

4.  ป้องกันโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s Disease) ในผู้สูงอายุ     
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมสลายของเซลล์สมองที่ส่วนใหญ่เกิดกับผู้สูงอายุ ทำให้มีอาการหลงลืม เช่น ลืมชื่อคน ลืมของ ชอบพูดซ้ำ ๆ บางคนมีอารมณ์แปรปรวน ซึ่งจากผลการวิจัยในผู้สูงอายุมากกว่า 1,000 คน เป็นเวลา 10 ปี พบว่าสภาวะดังกล่าวสาเหตุหนึ่งมาจากการที่ระดับดีเอชเอในสมองลดต่ำลง ดังนั้นเพื่อป้องกันการเสื่อมของเซลล์สมอง ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับกรดไขมันชนิดนี้อย่างเพียงพอในปริมาณ 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

อ่านต่อ : ผู้สูงอายุนอนหลับยาก ควรทำอย่างไร

.

หากได้รับดีเอชเอ (DHA) ไม่เพียงพอจะส่งผลอย่างไร

ถึงแม้ว่าดีเอชเอจะมีความสำคัญ และมีประโยชน์เพียงใดกลับพบว่า อาหารที่คนส่วนใหญ่รับประทานในแต่ละมื้อมีปริมาณดีเอชเอไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดปัญหาของสมองและสายตาในวัยต่าง ๆ โดยทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น
 
1.  ปัญหาของทารก และเด็กที่ได้รับดีเอชเอ (DHA) ไม่เพียงพอ

            –  ทำให้ระดับ ไอคิว ลดต่ำลง
            –  มีปัญหาการเรียนรู้ช้า ทั้งการเขียนและการอ่าน
            –  เด็กมีปัญหาเป็นโรคสมาธิสั้น และขาดการยับยั้งชั่งใจ
            –  การมองเห็นของทารกลดลง และอาจก่อให้เกิดโรคตาบอดกลางคืนได้

2.  ปัญหาของคนวัยทำงานที่มีระดับของดีเอชเอ (DHA) ในสมองลดต่ำลง
            –  มีอาการซึมเศร้า
            –  เครียด และก้าวร้าว

3.  ปัญหาของผู้สูงอายุที่มีระดับของดีเอชเอ (DHA) ในสมองลดต่ำลง
            –  เสี่ยงกับโรคอัลไซเมอร์ และโรคสมองเสื่อม
            –  ความสามารถของสติปัญญาลดลงในวัยสูงอายุ
            –  จอประสาทตาอักเสบ

อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ภาวะนอนไม่หลับ

วาเลอเรียน สมุนไพรที่ช่วยให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ

ภาวะนอนไม่หลับ

อยากนอน แต่นอนไม่หลับ

ภาวะนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ ปัญหาสุขภาพวัยสูงอายุ