Search

ขมิ้นชัน ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างไร

แผลในกระเพาะอาหาร
ผู้ชายปวดท้อง โรคกระเพาะ

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า โรคกระเพาะ มีสาเหตุจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา ซึ่งนั่นเป็นเพียง 1 ในสาเหตุของการเกิดโรคเท่านั้น แท้จริงแล้วโรคกระเพาะสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ได้แก่

  • ไลฟ์สไตล์ในแต่ละวันที่ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึก รวมถึงการสูบบุหรี่ กินอาหารไม่ตรง และกินอาหารรสชาติจัดเกินไป
  • การใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป โดยเฉพาะยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDS เช่น แอสไพริน (Aspirin) ยาสเตียรอยด์ ซึ่งยาเหล่านี้มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบได้
  • การติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. pylori) ซึ่งจะอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยคนส่วนใหญ่มักติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินอาหารส่วนต้น ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารได้ถึง 10-20% และมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งในกระเพาะถึง 3%

ปรับพฤติกรรมป้องกัน โรคกระเพาะ

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการกิน โดยพยายามกินให้ตรงเวลา เคี้ยวให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด งดแอลกอฮอล์ และเน้นกินอาหารที่ย่อยง่าย
2. พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียด
3. เมื่อมีอาการต้องสงสัย พยายามอย่าหาซื้อยากินเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

ขมิ้นชันทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคกระเพาะ

ขมิ้นชัน คือ สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “Wonder of drugs” หรือมหัศจรรย์แห่งสมุนไพร เนื่องจากเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) สารสำคัญในขมิ้นชันสามารถใช้เพื่อการรักษาโรคต่างๆ ได้มากมาย โดย 1 ในนั้น คือ การรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อ่านต่อ : ขมิ้นชัน กับประโยชน์ดีๆ ถึง 8 ข้อ

ทำความรู้จักกับ เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids)

เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) คือกลุ่มสารสำคัญในขมิ้นชัน ที่มีฤทธิ์ช่วยต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยการหลังสารมิวซินเพื่อเคลือบป้องกันกรด และยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการจุกเสียด ปวดแสบท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย จากกรดไหลย้อนหรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ทั้งนี้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) ในเรื่องการช่วยยับยั้งแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.pylori) และมีอาการจุกเสียด โดยให้ผู้มีอาการ 25 คนกินสารเคอร์คูมิน 30 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ผลปรากฏว่าสารเคอร์คูมินอยด์ช่วยลดอาการจุกเสียดท้องและลดการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารลงอย่างเห็นได้ชัด

ด้วยเหตุนี้ขมิ้นชันจึงถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มยาขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อเนื่องจากอาหารไม่ย่อย อย่างไรก็ตาม เคอร์คูมินอยด์ (Curcuminoids) ในขมิ้นชันละลายน้ำได้ยาก ทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อย ปัจจุบันจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการผลิตขมิ้นชันสกัดออกมาในรูปแบบไฟโตโซม ที่สามารถดูดซึมได้ดีกว่ารูปแบบทั่วไปถึง 9 เท่า และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากขมิ้นชันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อ้างอิง
อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ล้างพิษ

โพรไบโอติก (Probiotic) มิตรแท้ระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร

‘โปรไบโอติกส์’ (Probiotics) จุลินทรีย์ชนิดดีกับการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค

ทั้งหมด

'ท้องอืด' บรรเทาด้วย 3 สมุนไพรจากธรรมชาติ