เคยไหม…จ้องคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ แล้วเริ่มรู้สึกปวดกระบอกตา รู้สึกตาล้า มีอาการตาแห้ง คันตา แสบตา มีน้ำตาไหล ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ทั้งหมดนี้คืออาการของโรค ‘ตาล้า’ โรคเกี่ยวกับดวงตาที่ในปัจจุบันมีคนเป็นกันมากที่สุดโรคหนึ่ง โดยเฉพาะในคนทำงาน หรือคนที่ใช้สายตาเป็นเวลานาน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว เหนื่อยล้า เวียนศีรษะ บ้านหมุน และปวดไมเกรนได้ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จนเรื้อรังก็เสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจลุกลามเป็นโรคตาที่ร้ายแรงอื่นๆ ได้ในอนาคต
โรคตาล้า มีสาเหตุมาจากการใช้สายตาอย่างต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ การดูโทรทัศน์ ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ใช้สมาร์ทโฟนที่มีแสงจ้า หรือใช้สายตาในที่มืดซึ่งมีแสงน้อย รวมทั้งคนที่มีค่าสายตาผิดปกติ หรือกระจกตามีปัญหาก็เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน
1. จำกัดเวลาใช้สายตาในการทำกิจกรรม เช่น การอ่านหนังสือ ทำงาน หรือเล่นสมาร์ทโฟน และควรพักสายตาอย่างน้อย 20 วินาที ทุกๆ 20 นาที
2. กะพริบตาบ่อยๆ เพราะการกะพริบตาจะช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นขึ้น
3. ไม่ควรใช้สายตาในที่มืดหรือมีแสงน้อย หากต้องใช้สายตาทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ต้องคำนึงถึงแสงสว่างแวดล้อม ดังนั้นควรต้องปรับแสงให้เหมาะสม
4. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากสายตาในระยะระหว่าง 20-26 นิ้ว ควรปรับแสงและระดับของหน้าจอให้เหมาะกับการมองเห็น ต้องไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป
5. เลือกสวมแว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น สวมแว่นสายตาขณะอ่านหนังสือ เมื่อออกกลางแจ้งสวมแว่นตากันแดดเพื่อเป็นการถนอมสายตา หรือสวมแว่นตาที่ใช้สำหรับเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
6. ป้องกันไม่ให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการนั่งหน้าพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ เพราะทำให้ดวงตาสัมผัสกับลมโดยตรง
7. เสริมด้วยสารอาหารที่ช่วยดูแลดวงตาเพื่อป้องกันอาการตาล้า โดยสารอาหารที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำมีอยู่ 4 ชนิดประกอบไปด้วย
สำหรับผู้ที่มีภาวะตาล้าและมีพฤติกรรมเสี่ยง สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้ ที่นี่ เพื่อรู้ทันโรคและป้องกันได้อย่างทันท่วงที
-