ตาล้า ปวดกระบอกตา ปัญหาสุขภาพดวงตาของคนไทยยุคนี้ จากสถิติล่าสุดคนไทยใช้อินเตอร์เน็ต 8.44 ชั่วโมงต่อวัน สูงติดอันดับ Top10 ของโลก นั่นหมายความว่าคนไทยใช้สายตาอย่างหนักหน่วงจากการจ้องหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องใช้สายตาจ้องต่อเนื่องเป็นเวลานานอย่างเช่น เล่นเกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง
เรียกได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ใช้สายตาอย่างหนักจนเป็นความเคยชิน โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพดวงตาของเรา และนี่คือสาเหตุใหญ่ที่อาจก่อให้เกิดปัญหา "ตาล้า" โดยไม่รู้ตัว
ตาล้า ปวดกระบอกตา เกิดจากอะไร ? ตาล้า (Asthenopia) เป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพของดวงตาที่ผิดปกติไปทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดหัว ซึ่งมีสาเหตุมาจากการใช้สายตาอย่างหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ใส่คอนแท็คเลนส์ ลมเข้าตา แสงที่หน้าจอแสดงผลมาก/น้อยจนเกินไป ตัวอักษรในการมองเล็กจนเกินไป อ่านหนังสือนานจนเกินไป เป็นต้น อ่านต่อเพิ่มเติม : มารู้จักกับโรคตาล้า (Asthenopia) ให้ดียิ่งขึ้น
Check List พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงตาล้า ปวดกระบอกตา จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอต่างๆ เป็นเวลานาน
อ่านหนังสือนานจนเกินไป
สัมผัสแสงหรือที่สว่างมากๆ
ใช้สายตาในที่มีแสงน้อย ปรับเปลี่ยนไลฟสไตล์ เพื่อป้องกันอาการ ตาล้า ปวดกระบอกตา ลดการเพ่งจ้อง หรือใช้สายตาจากจอต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ มือถือ คอมพิวเตอร์ แทบเล็ต เป็นต้น
พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งให้เราต้องใช้สายตาอย่างหนัก ซึ่งส่งผลให้ดวงตาอ่อนล้า
บริหารดวงตา ด้วยการกรอกตาไปมาซ้ายไปขวา และเปลี่ยนมากรอกตาจากบนลงล่าง โดยสามารถทำต่อเนื่องกัน 5-10 ครั้งสม่ำเสมอ
พักผ่อนสายตาอย่างสม่ำเสมอ ตามกฎ 20-20-20 คือ พักสายตาทุก 20 นาที โดยมองออกไปไกล 20 เมตรเป็นเวลา 20 วินาที
ใช้ยาหยอดตา เพื่อลดอาการตาแห้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
ควรสวมแว่นกันแดด หรือสวมหมวกทุกครั้งเมื่อออกแดดจ้า
งดสูบบุหรี่ สารพิษในควันบุหรี่เข้ามาทางเส้นเลือดที่มาเลี้ยงลูกตา เมื่อดวงตาได้รับสารพิษจากควันบุหรี่นานๆ เข้า ก็ทำให้การมองเห็นลดลงจนเกิดอาการตาบอดได้
หมั่นตรวจเช็กสายตากับแพทย์ปีละ 1 ครั้ง
รับประทานอาหารที่ให้สารอาหารที่ช่วยดูแลดวงตา สารอาหารบำรุงดวงตา ลดอาการตาล้า ปวดกระบอกตา อย่างที่ทราบว่ามีสารอาหารมากมายในธรรมชาติที่สามารถดูแลและป้องกันดวงตาจากอาการตาล้า ที่สำคัญเป็นสารอาหารที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกให้การยอมรับ เนื่องจากมีผลการวิจัยที่ชัดเจน อันประกอบไปด้วย
ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) โดยปกติร่างกายของคนเราไม่สามารถสังเคราะห์ลูทีนและซีแซนทีนขึ้นมาใช้เองได้ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น จากการศึกษาพบว่าลูทีนและซีแซนทีนมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพของดวงตา ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มคาโรทีนอยด์พบได้ในบริเวณดวงตา โดยเฉพาะตรงบริเวณเลนส์ตาและจอรับภาพตา จากผลการศึกษาพบว่า การรับประทาน ลูทีน 10 มิลลิกรัมร่วมกับ ซีแซนทีน 2 มิลลิกรัม มีส่วนช่วยลดอาการตาล้าและลดการปวดกระบอกตา ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้น ลูทีนและซีแซนทีนยังทำหน้าที่สำคัญคือ ช่วยกรองแสงสีฟ้าหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย โดยการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งลูทีนและซีแซนทีนพบได้ในผักใบเขียว เช่น ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ ผักคะน้า และผลไม้อย่างเช่น กีวี่ องุ่น ส้ม เป็นต้น
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของสารแอสต้าแซนธิน พบว่าการรับประทานแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) วันละ 6 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ ช่วยลดอาการตาล้า ตาแห้ง ลดอาการปวดกระบอกตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแอสตาแซนธินจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อตา เพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงกล้ามเนื้อตาได้ดีขึ้น และช่วยลดการอักเสบของของกล้ามเนื้อตาได้อีกด้วย นอกจากนี้แอสตาแซนธินยังมีคุณสมบัติในการปรับกล้ามเนื้อเลนส์ตาทำให้การมองเห็นภาพชัดเจนขึ้น ลดการมองเห็นภาพซ้อนได้ แอสตาแซนธินยังมีคุณสมบัติที่โดดเด่นในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยในการป้องกันการเสื่อมของดวงตาที่แม้อาจจะมีอาการมาแล้วก็จะชะลอความเสื่อมของดวงตาหรือหยุดความเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองตรวจสอบตัวเองดูว่า คุณเคยมีอาการตามนี้หรือเปล่า ถ้าใช่คุณอาจกำลังเผชิญกับอาการตาล้านั้นเอง ซึ่งอาการเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้นาน ก็อาจกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้ หากละเลยไม่ยอมดูแลสุขภาพดวงตา อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรค เพราะดวงตาไม่มีอะไหล่เปลี่ยน เราไม่อาจทราบได้เลยว่าดวงตาของเราจะเสื่อมสภาพวันไหน อย่าดูแลสุขภาพดวงตาของคุณ เพราะดวงดวงตาคือหน้าตาของหัวใจ … ด้วยความห่วยใยจาก Mega We Care