โดยปกติแล้วเส้นผมของเราจะหลุดร่วงประมาณวันละ 50-100 เส้น แต่หากพบว่าผมร่วงมากกว่านั้น มีผมหลุดติดมือเมื่อสางผมหรือหวีด้วยแปรง ไม่ว่าสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงนั้นจะเกิดจากการที่ผมเสีย ผมแห้งขาดความชุ่มชื้น หรือผมร่วงที่เกิดจากขาด วิตามินบำรุงผม หรือสารอาหารบางชนิด ที่อาจส่งผลให้สีผมเปลี่ยนไป ผมเส้นเล็กลง เปราะง่าย และผมร่วงมากขึ้น จึงควรเริ่มสังเกตตนเองว่ามีพฤติกรรมใดที่ทำให้ผมร่วงมากกว่าปกติและควรบำรุงรากผมให้แข็งแรงโดยเร็ว เพื่อป้องกัน ผมบาง ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หรือศีรษะล้านในอนาคต
วิตามินและแร่ธาตุ เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้และต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้น หากร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ย่อมทำให้ร่างกายไม่สามารถนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น การขาดโปรตีนจะทำให้ร่างกายกักเก็บโปรตีนไว้ใช้ในอวัยวะสำคัญ ส่งผลให้โปรตีนถูกนำไปใช้เลี้ยงเส้นผมได้น้อยลงและอาจทำให้เส้นผมเปราะขาดง่าย ผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย รวมถึงทำให้วงจรการงอกใหม่ของเส้นผมเกิดขึ้นช้าลงและทำให้ผมบางลงในที่สุด ซึ่งภาวะผมร่วงอาจสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น
ดังนั้น ปัญหาผมร่วงเกิดจากการขาดวิตามินจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อาจนำไปสู่ภาวะ ผมบาง ผมเปราะขาดง่าย และมีสีผมหงอกก่อนวัย โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยเหล่านี้มาเป็นตัวกระตุ้นจะยิ่งทำให้ผมร่วงง่ายมากขึ้นและวงจรการงอกใหม่ของเส้นผมเกิดขึ้นได้ช้าลง หากต้องการบำรุงผมและดูแลรากผมให้แข็งแรง จึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำร้ายเส้นผมพร้อมกับรับประทานสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ต่อเส้นผมอย่างเพียงพอ
อาหารบำรุงเส้นผมที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญในการช่วยในการบำรุงผมที่ควรรับประทานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน มีอยู่ 5 ชนิดหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. ไบโอติน
ไบโอติน (Biotin) หรือวิตามินบี 7 เป็นสารสำคัญที่ช่วยในการเสริมสร้างเคราติน (Keratin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของผมและเล็บ พบมากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และตระกูลถั่ว เช่น ตับ เนื้อวัว ปลาเนื้อขาว ข้าวกล้อง ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วลิสง เมล็ดอัลมอนด์ รวมถึงในผักและผลไม้อย่าง กล้วยน้ำว้า บรอกโคลี เห็ดหอม เป็นต้น
2. สังกะสี หรือ ซิงค์
สังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ มีความสำคัญในการซ่อมแซมเส้นผมและช่วยให้เส้นผมเจริญเติบโต ช่วยให้ต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะทำงานปกติและลดโอกาสการหลุดร่วงของเส้นผมได้ หากร่างกายขาดสังกะสีจะทำให้ผมเปราะ ขาดง่าย และหลุดร่วง ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีสังกะสีอย่างเพียงพอจะช่วยให้เส้นผมหลุดร่วงน้อยลงและบำรุงรากผมให้แข็งแรง พบมากใน เนื้อสัตว์ ปลา สัตว์น้ำเปลือกแข็ง ผัมโขม เมล็ดทานตะวัน และถั่วต่างๆ
3. ธาตุเหล็ก
หากในร่างกายมีระดับแร่ธาตุเหล็ก (Iron) ต่ำ จะส่งผลให้ผมร่วงได้ โดยเฉพาะในผู้หญิง เช่น ช่วงมีประจำเดือน ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ภาวะเลือดจาง (Anemia) รวมถึงผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือสูญเสียเลือดจำนวนมาก เพราะแร่ธาตุเหล็กเป็นส่วนสำคัญในการขนส่งเม็ดเลือดแดงและออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุเหล็กจะช่วยให้ผมร่วงลดลงและบำรุงผมให้แข็งแรงขึ้น พบมากใน ตับ ไข่ เต้าหู้ ข้าวโอ๊ต ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง เป็นต้น
4. กรดโฟลิก หรือวิตามินบี 9
กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือวิตามินบี 9 (Vitamin B9) ทำหน้าที่สร้างเซลล์และเม็ดเลือด ช่วยป้องกันภาวะเลือดจางซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมร่วง รวมถึงช่วยในการงอกใหม่ของเส้นผมและบำรุงหนังศีรษะ พบมากในผักโขม บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า มะละกอ กล้วย เป็นต้น
5. วิตามินซี
วิตามินแก้ผมร่วง อย่างวิตามินซี (Vitamin C) เป็นวิตามินที่ช่วยลดผมร่วงจากสารอนุมูลอิสระ เนื่องจากวิตามินซีเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างโปรตีนและคอลลาเจน ช่วยลดการอักเสบและป้องกันเซลล์ถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระอันเป็นตัวการของปัญหา ผมร่วง ผมหงอก การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ถั่วลันเตา ฝรั่ง ส้ม แอปเปิล ทับทิม มะนาว สตรอว์เบอร์รี ฯลฯ จะช่วยในการงอกใหม่ของเส้นผมและบำรุงรากผมให้แข็งแรง
6. วิตามินอี
วิตามินอี (Vitamin E) เป็นอีกหนึ่งวิตามินแก้ผมร่วงจากสารอนุมูลอิสระและเป็นอาหารเสริมบำรุงผมให้แข็งแรง ช่วยในการสร้างเคราตินในเส้นผมและป้องกันเซลล์ผมจากการจับตัวกับสารอนุมูลอิสระได้ ช่วยปกป้องรากผมไม่ให้เส้นผมหลุดร่วงง่าย โดยอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ได้แก่ อัลมอนด์ มะเขือเทศ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น
7. วิตามินดี
วิตามินดี (Vitamin D) ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมและแมกนีเซียมได้ดี หากมีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำจะทำให้ภาวะผมร่วงรุนแรงขึ้น แม้ว่าร่างกายจะสามารถสังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดดผ่านผิวหนังแล้ว ยังควรได้รับจากสารอาหารด้วย เช่น น้ำมันปลา ปลาทะเลน้ำลึก เนื้อแดง ไข่แดง ตับ นมถั่วเหลือง เป็นต้น
การบำรุงผมและแก้ปัญหาผมร่วง ควรดูแลควบคู่กันทั้งภายในและภายนอก โดยรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะอยู่เสมอ เลือกใช้แชมพูหรือผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมที่เหมาะกับสภาพเส้นผมของตนเอง รวมถึงเสริม วิตามินบำรุงผม จากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และบำรุงผมจากภายนอก เช่น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาผมร่วงที่เกิดจากขาดวิตามินมักมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย สำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน หรือผู้ที่อยากผมดกสวย เงางาม ควรเริ่มดูแลสุขภาพเส้นผมด้วยการหลีกเลี่ยงการทำร้ายเส้นผมในรูปแบบต่างๆ พร้อมกับป้องกันผมร่วงด้วยการรับประทานวิตามินบำรุงผมร่วมกับการใช้วิตามินบำรุงผมจากภายนอกอย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยป้องกันผมร่วงแล้วยังช่วยให้ผมดูสวยสุขภาพดีได้อย่างยาวนานอีกด้วย