หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายและไม่ควรละเลยการดูแลสุขภาพหัวใจ เนื่องจากหัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือด เพื่อนำพาออกซิเจนและธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย หากหัวใจอ่อนแอหรือทำงานผิดปกติย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายและชีวิตได้ สิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพหัวใจ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือ อาหารบำรุงหัวใจ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในปัจจุบัน
ทำความเข้าใจ “โรคหัวใจ” เกิดจากสาเหตุอะไร
โรคหัวใจ เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งในระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุหลักของโรคหัวใจมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อสุขภาพหัวใจ เช่น
- เกิดจากระดับไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL Cholesterol) ที่สามารถสะสมในผนังหลอดเลือดและทำให้หลอดเลือดตีบและแข็ง ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ (Atherosclerosis)
- ระบบการทำงานของหัวใจ ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างมาโดยกำเนิดหรือโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจทำงานหนักจากการที่ต้องสูบฉีดเลือดที่มีความดันโลหิตสูง ส่งผลให้ความแข็งแรงของผนังหลอดเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลันได้
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โดยสืบทอดทางพันธุกรรมได้
- พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันและโซเดียมสูงที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันในเลือดและความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ นอกจากนี้การขาดการรับประทานที่มีประโยชน์หรือ อาหารบำรุงหัวใจ รวมถึงการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก จะสามารถทำให้เกิดไขมันพอกตับและไขมันในเลือดสูงขึ้นอีกด้วย
สัญญาณที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงโรคหัวใจ
- อาการเจ็บแน่นหน้าอก รู้สึกอึดอัด เหมือนกับกดทับบริเวณกลางอก ซึ่งอาจมีอาการปวดร้าวไปจนบริเวณกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย โดยเฉพาะในขณะออกกำลังกาย
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น
- เหนื่อยง่ายหายใจถี่ หน้ามืดหมดสติ
- หายใจไม่ออกระหว่างออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ
- อาการเหนื่อยหอบแม้ในขณะพัก
- มีอาการบวมที่ขา ข้อ และเท้า
ดูแลสุขภาพหัวใจด้วย อาหารบำรุงหัวใจ
การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือ อาหารบำรุงหัวใจ ที่มีส่วนช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอลในเลือด อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นด้วยอย่าง โคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) ช่วยบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย ซึ่งพบมากในอาหารดังต่อไปนี้
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วอัลมอนด์ เป็นอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี เพราะอุดมไปด้วย Omega-3 และไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL Cholesterol) ที่สามารถลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลชนิดร้ายในเลือด (LDL Cholesterol) อันเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบตันได้ แนะนำให้รับประทานวันละ 2 ช้อนโต๊ะหรือประมาณ 1 กำมือ แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วทอดหรือปรุงรส เพราะอาจทำให้ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไป
- เนื้อปลา ไม่ว่าจะเป็น ปลาทะเลหรือปลาน้ำจืด เช่น ปลากะพง ปลาทู ปลานิล ปลาสวาย ปลาจะละเม็ด ปลาแซลมอน เป็นต้น ซึ่งมีคุณค่าสารอาหารสูงและมีกรดไขมันจำเป็นในกลุ่ม Omega-3 ที่ช่วยเพิ่มไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL Cholesterol) ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยลดการแข็งตัวของหลอดเลือด รวมถึงมีส่วนช่วยในการทำงานของหัวใจและลดการจับตัวของลิ่มเลือดได้อีกด้วย
- สัตว์เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ รวมถึงเครื่องในสัตว์ เป็นอีกหนึ่ง อาหารบำรุงหัวใจ ที่อุดมไปด้วยโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานระดับเซลล์ที่สำคัญ ช่วยสร้างพลังงานให้กับเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและสมอง แต่สำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงควรงดการบริโภคเครื่องในสัตว์หรือเลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันแทน
- ถั่วเหลืองและธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต งาดำ ลูกเดือย เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูงทั้งวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงให้หัวใจแข็งแรงขึ้นและป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้อีกด้วย
- ผักหลากสี ได้แก่ ผักสีเขียว ผักสีแดง ผักสีขาว ผักสีม่วงและสีน้ำเงิน ผักสีเหลืองและสีส้ม ที่นอกจากจะอุดมไปด้วยใยอาหารแล้วยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดีอีกด้วย
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น มัลเบอร์รี่หรือลูกหม่อน องุ่น โกจิเบอร์รี่ ฯลฯ จัดเป็น Superfood และ อาหารบำรุงหัวใจ ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายถึง 32% รวมถึงช่วยลดความดันโลหิตสูงและขยายหลอดเลือดหัวใจได้ดี
- โคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่สำคัญกับทุกเซลล์ในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และเหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสเตติน (Statins) เนื่องจากยาลดไขมันมีผลยับยั้งการสร้างโคเอนไซม์คิวเทนในร่างกาย จึงทำให้ร่างกายขาดสารชนิดนี้และส่งผลต่ออาการของโรคหัวใจได้ เช่น มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ อาจทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นแรงผิดจังหวะ เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย เป็นต้น ซึ่งนอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้วอาจเลือกรับประทาน อาหารบำรุงหัวใจ ที่อุดมไปด้วยโคเอนไซม์คิวเท็นหรือรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวมกับอาหารมื้อปกติด้วย ทั้งนี้ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
อ่านต่อ : Coenzyme Q10 ประโยชน์ที่มีมากกว่าการบำรุงผิว
อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพหัวใจและการป้องกันโรคหัวใจนั้น นอกจากจะรับประทานอาหารบำรุงหัวใจประเภทต่างๆ แล้วยังควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หันมารักษาสุขภาพมากขึ้น โดยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน โซเดียม และน้ำตาลสูง งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ จะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ลดการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดและช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรงได้ยาวนานขึ้น