Search

ภูมิแพ้เรื้อรัง เรื่องสำคัญที่ดูแลได้

หวัด ภูมิแพ้
ดูแลอาการ ภูมิแพ้เรื้อรัง

ภูมิแพ้เรื้อรัง เกิดจากภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ อาหาร ขนสัตว์ แมลง หรือพืชบางชนิด บางท่านแพ้ส่วนประกอบในอาหาร เช่น เครื่องปรุงรส ผงชูรส ซึ่งก็จะหลีกเลี่ยงได้ยาก โดยอาการของโรคภูมิแพ้สามารถแสดงได้หลายระบบของร่างกาย ขึ้นอยู่กับชนิดของภูมิแพ้ที่เป็น ซึ่งความรุนแรงของโรคมีตั้งแต่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน กิจวัตรประจำวัน บางรายอาจมีภาวะโรคแทรกซ้อนตามมา หรือหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาการภูมิแพ้สามารถลุกลามได้ถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคภูมิแพ้มีผลต่อระบบใดในร่างกาย ?


โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย โดยแบ่งตามอวัยวะที่เป็น ได้แก่ โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง โรคภูมิแพ้อาหาร และโรคภูมิแพ้ทางดวงตา

1. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ (Allergic Rhinitis)

ภูมิแพ้ทางเดินหายใจหรือภูมิแพ้อากาศ มีความเกี่ยวข้องกับอวัยวะจมูกและหลอดลมเป็นส่วนมาก เมื่อร่างกายสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เป็นเวลานานจะเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้เกิดอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล คันคอ คันจมูก หายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ไอมากตอนกลางคืน โดยส่วนมากมักจะมีอาการเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ และอาการหนักขึ้นในช่วงฤดูหนาว

2. โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)

ภูมิแพ้ทางผิวหนัง มักเกิดกับผู้ที่มีผิวหนังที่ไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมี หรือแม้แต่การรับประทานอาหารบางชนิดแต่ในบางรายอาจเกิดได้จากความเครียด ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ซึ่งอาการจะแสดงออกทางผิวหนัง เช่น ผดผื่นขึ้นตามใบหน้าและลำตัว ผิวหนังแห้ง และคันตามผิวหนัง

3. โรคภูมิแพ้อาหารและยา (Food Allergy)

ภูมิแพ้อาหารและยาเกิดจากปฏิกิริยาที่ไวต่ออาหารหรือยาที่รับประทานเข้าไป จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้าอาหารและยาบางชนิด มักมีอาการทันทีเช่น บวมริมฝีปาก คันคอ คัดจมูก หอบหืด ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แน่นหน้าอก ในบางรายอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติ ความดันโลหิตต่ำ หรือจนถึงเสียชีวิต

4. โรคภูมิแพ้ทางดวงตา (Eye allergy)

ภูมิแพ้ทางดวงตา เกิดจากการอักเสบของเยื่อตาขาวและใต้หนังตา ทำให้มีอาการ คันตา ตาแดง ตาบวม น้ำตาไหล ส่วนใหญ่มักมีอาการช่วงได้รับสารกระตุ้น เช่น ไรฝุ่น ควัน ละอองเกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์

ภูมิแพ้เรื้อรัง มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง?

  1. พันธุกรรม : เป็นสาเหตุจากกำเนิด หากในครอบครัวมีคนเป็นภูมิแพ้ 2 ใน 4 คน อัตราเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ก็จะมีเพิ่มขึ้น
  2. สิ่งแวดล้อม : เป็นสาเหตุโดยตรงเมื่อร่างกายปฏิกิริยากับสารก่อภูมิแพ้กำเริบ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมี เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ หรือสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้กำเริบ และแสดงอาการของโรคภูมิแพ้ออกมา
  3. ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง : เมื่อระบบภูมิคุ้มกันต่ำเป็นการบ่งบอกว่าร่างกายเริ่มอ่อนแอ ไม่แข็งแรงจากภายใน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภูมิแพ้กำเริบและแสดงออกมาทางระบบต่างๆ ของร่างกาย

ภูมิแพ้เรื้อรัง หากปล่อยไว้ไม่รักษา … อาจนำไปสู่โรคร้าย

คนส่วนใหญ่มักชะล่าใจ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้เรื้อรังและเลือกใช้ยารักษาอาการที่ปลายเหตุ และเป็นที่ทราบกันดีว่าการรับประทานยาเป็นประจำย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายและทำให้ตับทำงานหนักมากขึ้น ยิ่งดูเหมือนเราทำร้ายสุขภาพให้แย่ลงมากกว่าเดิม
โรคภูมิแพ้เรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการนานอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้นและพัฒนาไปถึงขั้นอันตรายถึงชีวิต หรือในบางรายที่โชคร้ายอาจถึงขึ้นเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Autoimmune) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน และมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ปฏิบัติตัวอย่างไร ให้ห่างไกล “ภูมิแพ้เรื้อรัง”

  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ : เช่น ฝุ่น ควัน ไรฝุ่น มลพิษ เกสรดอกไม้ หรืออาหารบางชนิด
  2. ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่ให้เหมาะสม : โดยเฉพาะดูแลเรื่องไรฝุ่นที่เป็นปัญหาพื้นฐาน ซึ่งก่อให้เกิดภูมิแพ้ทางผิวหนังและทางเดินหายใจ
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ : เพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและสร้างเซลล์ในระบบภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : เพื่อให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง
  5. รับประทานอาหารที่ช่วยสร้างภูมิต้านทาน : รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน โดยเฉพาะอาหารที่ให้วิตามินและเกลือแร่ปริมาณสูง เช่น ผัก ผลไม้ ขมิ้นชัน ถั่วอัลมอนด์

รักษาจุดเริ่มต้น ภูมิแพ้เรื้องรัง ด้วย “โปรไบโอติกส์”

ในปัจจุบันมีอาหารที่ได้รับความนิยมรับประทานเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน นั่นคือ “โปรไบโอติกส์”

โปรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายโดยทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบที่เกิดจากการแพ้ เร่งการผลิตสารภูมิต้านทานในร่างกายในระยะยาว และช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ชนิดดีในระบบทางเดินอาหาร จึงช่วยสร้างสมดุลของทางเดินอาหาร ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้นี่เองโปรไบโอติกส์ จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่ต้องการสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และป้องกันอาการเจ็บป่วยที่ตามมา

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า การทานโปรไบโอติกส์ที่เป็นสายพันธ์เฉพาะที่มีการศึกษาเกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทาน เช่น  แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส NCFM หรือ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส BL-04 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 30 วัน จะช่วยลดอาการและความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ได้

มีตัวอย่าง นักวิจัยจากจีนได้ทดลองให้ผู้ป่วยโควิด-19 รับประทานโปรไบโอติกส์บางตัว และพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากโปรไบโอติกส์มีอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอุจจาระมากขึ้น หรืออีกงานวิจัย ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก นอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐ เผยว่า โปรไบโอติกส์ มีความสามารถในการบรรเทาอาการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านั้นในร่างกาย เราพบว่าโปรไบโอติกส์สามารถกำจัดไวรัสและแบคทีเรียรวมถึงควบคุมการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตามก็เลือกรับประทาน “โปรไบโอติกส์” ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย สิ่งสำคัญคือการเลือกโปรไบโอติกส์ที่เป็นสายพันธ์เฉพาะ ซึ่งมีผลการศึกษาสนับสนุนเรื่องการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง เพราะสามารถจะช่วยลดความรุนแรงของอาการภูมิแพ้ และช่วยลดโอกาสการเกิดอาการแพ้เมื่อมีสิ่งที่มากระตุ้นได้

ถึงแม้ภูมิแพ้เรื้อรังจะเป็นโรคที่สร้างความหงุดหงิดในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากเรารู้สาเหตุของการแพ้อย่างชัดเจนและพยายามหลีกเลี่ยง ร่วมถึงรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ย่อมช่วยบรรเทาอาการที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีด้วยความห่วงใยจาก Mega We care

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

หวัด ภูมิแพ้

ไขข้อข้องใจ…ทำไมกินยาแก้แพ้แล้วไม่หายสักที

หวัด ภูมิแพ้

ยาแก้แพ้ กับเรื่องที่ต้องรู้

หวัด ภูมิแพ้

รคภูมิแพ้แก้ได้ เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็คิดว่ายาก