หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ ภัยเงียบจากแคลเซียมสะสม

หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบสุขภาพที่อันตรายถึงชีวิต หากขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่รุนแรง มักเกิดจากภาวะไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการสะสมของแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือดแดง หรือ ที่เรียกว่า หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ

หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร?

หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Calcification) คือ ภาวะที่มีการสะสมของแคลเซียม หรือ ที่เรียกว่า “หินปูน” ที่บริเวณผนังของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง หรือไม่เพียงพอ และนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด โดยมักมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก รู้สึกวิงเวียนและเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หากมีอาการรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้

หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ เกิดขึ้นได้อย่างไร

หินปูนหัวใจ มีสาเหตุสำคัญมาจากการสะสมของ “แคลเซียม” ที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ กระบวนการนี้เกิดขึ้นเมื่อ มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และสะสมตามผนังหลอดเลือดแดงจนทำให้เกิดความเสื่อมสภาพ เมื่อผนังหลอดเลือดเสื่อมลง ร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างแคลเซียมมาเกาะที่บริเวณนั้น เพื่อป้องกันการรั่วซึมของเลือด แต่การสะสมของแคลเซียมนี้กลับส่งผลเสียในระยะยาว โดยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น จนนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)ได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจวาย โดยปัจจัยเสี่ยงที่เร่งการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่

  • โรคเบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ระดับไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่
  • อายุที่เพิ่มขึ้นและกรรมพันธุ์

ดังนั้น การควบคุมทั้งระดับไขมัน น้ำตาล และแคลเซียมในเลือด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

รับประทานแคลเซียมแบบผิดๆ อาจเสี่ยง หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ

ถึงแม้ว่าการได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จะมีความสำคัญต่อการป้องกันภาวะกระดูกพรุนเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ยังมีข้อควรระวังที่สำคัญ เกี่ยวกับการบริโภคแคลเซียม ดังนี้

  • การบริโภคแคลเซียมในปริมาณสูงเกินความจำเป็น ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันแตกต่างกัน ตามช่วงอายุและสภาวะสุขภาพ โดยทั่วไปผู้ใหญ่ต้องการแคลเซียม 1,000 -1,200 มิลลิกรัมต่อวัน การบริโภคแคลเซียมเสริมโดยไม่จำเป็น หรือในปริมาณที่สูงเกิน (มากกว่า 2,000-2,500 มิลลิกรัมต่อวัน) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงและการสะสมในหลอดเลือด
  • การขาดวิตามินดี 3 และวิตามินเค 2 เนื่องจากวิตามินดี 3 มีความสำคัญต่อการดูดซึมแคลเซียม ขณะที่วิตามินเค 2 มีบทบาทสำคัญในการนำแคลเซียมไปยังกระดูกและป้องกันการสะสมในหลอดเลือด การได้รับแคลเซียมเสริมโดยขาดวิตามินเหล่านี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดหินปูนในหลอดเลือดได้
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวกลุ่ม NCDs เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงโรคไตเรื้อรัง โรคพาราไทรอยด์เป็นพิษ หรือ มีประวัตินิ่วในไต มักมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง และการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือด การได้รับแคลเซียมเสริมในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  •  การขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายนั้นช่วยในการนำแคลเซียมไปสร้างมวลกระดูก ซึ่งการขาดการออกกำลังกายอาจทำให้แคลเซียมไม่ถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมในหลอดเลือด

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มรับประทานแคลเซียมเสริม โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

รับประทานแคลเซียมแบบไหนไม่ให้เพิ่มความเสี่ยงหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ

การเสริมแคลเซียมอย่างถูกวิธี นอกจากจะได้ประโยชน์ในการ บำรุงกระดูก แล้ว ยังไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อหินปูนเกาะหลอดเลือดอีกด้วย โดยแนะนำให้เลือกแคลซียมจากแหล่งอาหารเหล่านี้

  • แคลเซียมจากอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียว เมล็ดงา ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานได้ทั้งกระดูก เนื่องจากแคลเซียมจากอาหารมีความเสี่ยงน้อยกว่าในการเพิ่มปริมาณแคลเซียมในเลือดและการสะสมในหลอดเลือด รวมทั้งยังได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมทางเลือกที่มีคุณภาพ มีผลการวิจัยทางการแพทย์รองรับ ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่มีสารประกอบ Ossein-Hydroxyapatite Complex (OHC) ที่ได้จากกระดูกสัตว์ เช่น ไขกระดูกวัวที่อุดมไปด้วยแคลเซียมโปรตีน และฟอสฟอรัส จากธรรมชาติ โดยมีการศึกษาที่พบว่า อาจช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกได้ รวมถึงมีส่วนประกอบของ วิตามินดี 3 และ   วิตามินเค 2 ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ส่งเสริมการนำแคลเซียมไปใช้ในกระดูก และ ป้องกันการสะสมในหลอดเลือด มีความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • รับประทานแคลเซียมในขนาดที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละบุคคล (โดยทั่วไป 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน) โดยอาจแบ่งการรับประทานเป็นมื้อย่อยๆ ไม่เกิน 500 มก. ต่อครั้ง เพื่อการดูดซึมที่ดี หากมีประวัติโรคหัวใจ โรคไต หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานแคลเซียมเสริม

นอกจากเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมแล้ว การออกกำลังกายและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการสะสมหินปูนในหลอดเลือดได้ และสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันภาวะหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ คือ การควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง อาจเข้ารับการตรวจระดับแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เพื่อหาแนวโน้มการเกิดโรคและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

📌 สนใจข่าวสารสุขภาพเพิ่มเติมและสอบถามผู้เชี่ยวชาญของ 𝐌𝐄𝐆𝐀 𝐖𝐞 𝐜𝐚𝐫𝐞 ได้ที่ 𝐋𝐢𝐧𝐞@ : @𝐦𝐞𝐠𝐚𝐰𝐞𝐜𝐚𝐫𝐞 หรือ คลิก

อ้างอิง
  1. โรงพยาบาลพญาไท : https://shorturl.at/i5vq2
  2. โรงพยาบาลนครธน : https://shorturl.at/gcJPr
  3. โรงพยาบาลสมิติเวช : https://shorturl.at/pXSrH
  4. ฐานข้อมูล MEGA We care
อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน