โรคกระดูกพรุน ถือเป็นภัยเงียบที่พบบ่อยและส่งผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจถึงขั้นทุพลภาพได้เลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่มักไม่มีสัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดและพบเพียงอาการทั่วไป เช่น ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดตามข้อมือข้อนิ้ว ซึ่งกลุ่มคนที่เสียงต่อโรคกระดูกพรุนมากที่สุด คือ ผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน จึงควรป้องกันการเสื่อมสลายของมวลกระดูกตั้งแต่เริ่มอายุเข้า 30 ปีเป็นต้นไปและจำเป็นต้อง บำรุงกระดูก ให้แข็งแรงอยู่เสมอ
เนื่องจากผู้หญิงวัยทองหรือช่วงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะมีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชายวัยทองถึง 4 เท่า จากการที่ร่างกายมีการสะสมมวลกระดูกได้น้อยกว่า จึงทำให้เมื่ออายุเพิ่มขึ้นหรือช่วงเข้าสู่วัยทองจะมีการสูญเสียแคลเซียมกระดูก 1-2% ต่อปี ส่งผลให้กระดูกบางและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น
อีกทั้งฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ทำหน้าที่ในการสร้างจากรังไข่และมีส่วนสำคัญป้องกันการสลายกระดูกในผู้หญิงลดลงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน (อายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปี) จึงทำให้เกิด อาการวัยทอง และกระดูกบางอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกหลังเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
ดังนั้น ผู้หญิงวัยทองจึงควรบำรุงกระดูกและชะลอการเสื่อมสลายของมวลกระดูกให้เกิดช้าลงด้วยการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่อายุยังน้อยหรือหากเข้าสู่วัยทองแล้วยิ่งจำเป็นต้องบำรุงกระดูกให้มากยิ่งขึ้นและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนด้วย
ร่างกายของผู้หญิงเมื่อหมดประจำเดือนหรือผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างจะเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว โดยความหนาแน่นของกระดูกจะมีมากที่สุดเมื่ออายุ 30 ปีและค่อยๆ ลดลงตามลำดับ จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนมากที่สุดในช่วงวัยเหล่านี้
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ เช่น เชื้อชาติคนเอเชีย การได้รับยากลุ่มยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ สารนิโคตินในควันบุหรี่ คนที่ผอมจนเกินไป การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก ได้แก่ แคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน รวมถึงการขาดการออกกำลังกายด้วยและคนที่เคยมีประวัติกระดูกหักมาก่อนจะมีโอกาสกระดูกหักเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า
อ่านต่อ : โรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไร ภัยเงียบที่ผู้สูงอายุต้องระวัง
การป้องกันโรคกระดูกพรุนให้เกิดได้ช้าลงนั้น สามารถทำได้ด้วยการลดการเสื่อมสลายของมวลกระดูกด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้กระดูกเปราะได้ง่ายและการบำรุงเพื่อเสริมความแข็งแรงให้มวลกระดูก ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้กระดูกพรุน
2. รับวิตามินดี 3 อย่างเพียงพอ
วิตามินดีมีหน้าที่ในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยป้องกันโรค โรคกระดูกบาง (Osteopenia) และกระดูกพรุน (Osteoporosis) รวมถึงช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียมกระดูกด้วย ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองจึงควรเสริมวิตามินดีอย่างเพียงพอ สำหรับคนที่อายุไม่เกิน 70 ปี ควรได้รับ 600 IU ต่อวัน (15 ไมโครกรัม) หรือ หากอายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 800 IU ต่อวัน (20 ไมโครกรัม) โดยร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้จากแสงแดดและการรับประทานอาหาร เช่น ไข่แดง นม น้ำมันตับปลา และผลิตภัณฑ์จากนม เห็ด ธัญพืช ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3) เป็นต้น
อ่านต่อ : วิตามินดี (Vitamin D) ประโยชน์ต่อกระดูกและร่างกายที่ขาดไม่ได้
3. เสริมวิตามินเค 2 (Vitamin K2)
วิตามินเค 2 (Vitamin K2) มีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูกและฟัน มีบทบาทสำคัญในการนำแคลเซียมไปเก็บสะสมไว้ในกระดูก โดยทำงานร่วมกับวิตามินดี 3 ที่กระตุ้นสร้างโปรตีนที่มีชื่อว่า ออสทีโอแคลซิน (Osteocalcin)ในการเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูก และป้องกันแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือด อีกทั้งยังมีการศึกษาที่พบว่า วิตามินเค 2 มีประโยชน์ต่อทั้งกระดูกและหลอดเลือด รวมถึงในผู้หญิงวัยทองที่มีภาวะกระดูกพรุน โดยวิตามินเค 2 มักพบในอาหาร เช่น ถั่วเหลืองหมักนัตโตะ เนย ชีส ไข่แดง เป็นต้น
4. เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก
การที่กระดูกพรุนและเปราะหักง่ายอาจไม่สามารถกลับมาแข็งแรงได้เหมือนวัยหนุ่มสาว เพื่อชะลอความเสื่อมของกระดูกอาจเลือกเสริมความแข็งแรงของกระดูกด้วยสารทดแทนที่มีประสิทธิภาพ เช่น Ossein-Hydroxyapatite Complex (OHC) ซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้จากกระดูกวัว มีส่วนประกอบของแคลเซียม โปรตีน และฟอสฟอรัสที่ช่วยสร้างความหนาแน่นของเนื้อกระดูก พบในยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้มาตรฐาน
อย่างไรก็ตาม การบำรุงกระดูกสำหรับผู้หญิงวัยทองที่มีภาวะกระดูกพรุนควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบํารุงกระดูก เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว ถั่วเหลืองและธัญพืช หรือสามารถเลือกรับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้มาตรฐาน รวมถึงสารอาหารที่สำคัญต่อกระดูกอย่างวิตามินดี 3 วิตามินเค 2 และสารสกัดจากกระดูกวัว ที่มาจากธรรมชาติ 100% ผ่านเทคโนโลยีพิเศษอย่าง StimuCal ที่มี Ossein-Hydroxyapatite Complex (OHC) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทาน
.
.
ดังนั้น ผู้หญิงวัยทองที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสูง จึงควรเริ่มบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ถึงแม้ว่าการเกิดโรคกระดูกพรุนนั้นจะประกอบไปด้วยหลายปัจจัย แต่หากรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงกระดูก ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม วิตามินดี 3 ฟอสฟอรัส หรือ วิตามินเค 2 อย่างเหมาะสมควบคู่ไปกับการลดพฤติกรรมที่ทำให้กระดูกพรุนง่าย จะช่วยให้ผู้หญิงวัยทองมีกระดูก ฟัน และกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ซึ่งจะช่วยชะลอการเสื่อมสลายของมวลกระดูกให้เกิดช้าลงได้นั่นเอง
ข้อกระดูกเสื่อมหรือไม่ เช็คอาการได้ด้วยตนเอง