ในปัจจุบัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักพบอาการผิดปกติของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จากการตรวจสุขภาพประจำปี และอาจไม่เคยมีอาการสัญญาณเตือนมาก่อน แต่บางคนที่ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี อาจเจอโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะที่รุนแรงแล้ว ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ ทั้งสาเหตุ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และวิธีป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้เราสามารถป้องกันและดูแลสุขภาพหัวใจได้อย่างถูกต้อง
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือดแดง (Coronary) ที่ทำหน้าที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อมีไขมันอุดตันในหลอดเลือดจะส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ โรคนี้ถือเป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ตลอดจนผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และมีความเครียดสูง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้หัวใจวายและอันตรายต่อชีวิตได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ มีสาเหตุมาจากการที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมีคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่และส่งผลให้หลอดเลือดตีบตัน ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นๆ หนาตัวขึ้น แข็งตัวและตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดซึ่งมีหน้าที่นำออกซิเจนไหลเวียนทั่วร่างกายได้น้อยลงและทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้น นอกจากนี้หากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังของหลอดเลือดชั้นในแตกออกและกลายเป็นลิ่มเลือด จะส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หรือ เสียชีวิตกะทันหันได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปจะพบอาการดังนี้
หากมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ มีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งการได้รับการรักษาใน 2 ชั่วโมงแรกของการเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจและรักษาได้ทันเวลา โดยการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เช่น รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Balloon angioplasty) หรือ การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ คือ การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจที่ดีที่สุด อีกทั้งยังช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นและยังช่วยป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ได้อีกด้วย โดยสามารถใช้แนวทางนี้ได้ ในชีวิตประจำวัน
1. ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการใช้พลังงานในแต่ละวัน ดังนี้
2. รับประทานอาหารที่มีไขมันและพลังงานต่ำ โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันจากสัตว์สูง ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ที่พบในอาหารแปรรูป อาหารทอด หรือ ครีมเทียมต่างๆ รวมถึงลดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและเน้นการรับประทานผักและผลไม้หลากสีไม่ต่ำกว่า 600 กรัมต่อวัน อ่านต่อ : อาหารลดไขมัน ที่คนเป็นไขมันในเลือดสูงควรรับประทาน
3. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัดและอาหารที่มีโซเดียมสูง โดยปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับ ไม่ควรเกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม เช่น เกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา หรือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ไม่เกิน 1½ – 2 ช้อนโต๊ะ เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ด และอาหารสำเร็จรูปด้วย
4. ลดไขมันในเลือดอย่างถูกวิธี โดยหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือ เพิ่มกิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างเพียงพอ โดยออกแรง หรือ ออกกำลังกายที่เพื่อให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นปานกลางต่อเนื่องเป็นเวลาตั้งแต่ 10 นาทีขึ้นไป สำหรับผู้ที่รับประทานยาลดไขมันอยู่แล้ว ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถเลือกรับประทานสารอาหารที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดียิ่งขึ้น เช่น สารสกัดโพลีโคซานอล (Policosanol) ที่พบในไขเปลือกอ้อย ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน (Statin) และ ออกฤทธิ์คล้ายกัน แต่มีความปลอดภัยต่อตับมากกว่า สามารถทานได้ต่อเนื่อง รวมถึงช่วยเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดี ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ อ่านต่อ : ยาลดไขมันในเลือด มีผลข้างเคียงอย่างไร พร้อมแนะนำการดูแลสุขภาพ
5. หยุดสูบบุหรี่ เนื่องจากการหยุดสูบบุรี่เพียง 20 นาที จะทำให้ความดันโลหิตลดลงสู่ระดับปกติได้ ซึ่งการหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 10 ปี จะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ใกล้เคียงกับคนที่ไม่สูบบุหรี่ แต่หากหยุดสูบบุหรี่ติดต่อกันมากกว่า 15 ปี ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจจะลดลงเหลือเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่ได้เลยทีเดียว
6. ลดความเครียด การลดความเครียดและเสริมสร้างความผ่อนคลายในชีวิตประจำวันด้วยกิจกรรมที่ชอบ เช่น การออกกำลังกาย การใช้วิธีสุคนธบำบัด การพบปะผู้คน หรือ งานอดิเรกต่างๆ จะช่วยลดความเครียดสะสมในชีวิตประจำวันได้ ระดับฮอร์โมนคงที่มากขึ้น และยังลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ หากดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม และ ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้ อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากพบอาการผิดปกติ หรือ เจ็บแน่นหน้าอก ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง