ผู้หญิงไทยกับภาวะ ขาดแคลเซียม ปัญหาสุขภาพที่ต้องรีบแก้ไข

ผู้หญิง ขาดแคลเซียม

หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบมากขึ้นในผู้หญิงไทยในยุคปัจจุบันก็คือภาวะ ขาดแคลเซียม ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกโดยตรง ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการแตกหักและกระดูกพรุนมากขึ้น เนื่องจากผู้หญิงไทยจำนวนมากอาจรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ จากสถิติยังพบว่า “คนไทย 50% ได้รับแคลเซียมต่อวันน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนสูงถึง 90% ซึ่งในจำนวนนี้ 1 ใน 3 เป็นผู้หญิงที่อายุเกิน 60 ปี ซึ่งเป็นวัยหมดประจำเดือน”

อาการที่สังเกตได้หากร่างกาย ขาดแคลเซียม

  1. ปวดก่อนมีประจำเดือน ในผู้หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือน หากขาดแคลเซียมมักมีอาการปวดท้องมากเมื่อมีประจำเดือน และเมื่อภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำอาจส่งผลให้เกิดอาการ PMS ที่รุนแรง
  2. เสี่ยงกับโรคเกี่ยวกับฟัน แคลเซียมมีความสำคัญมากต่อกระดูกและฟัน หากระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำหรือลดลง มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับฟัน รวมถึงทำให้ฟันไม่แข็งแรง และฟันผุได้ง่ายกว่าปกติ
  3. กล้ามเนื้อกระตุก เนื่องจากแคลเซียมถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะการหดตัวและคลายตัว  ดังนั้นการขาดแคลเซียมอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและอาจเกิดการกระตุกจนสังเกตได้
  4. เล็บเปราะ แตกหักง่าย การมีเล็บเปราะ อ่อนแอ และซีด เป็นสัญญาณหนึ่งของการมีระดับแคลเซียมในร่างกายต่ำ ซึ่งแคลเซียมมีความสำคัญต่อสุขภาพเล็บเช่นเดียวกับแร่ธาตุสังกะสี
  5. ความเหนื่อยล้า แคลเซียมต่ำส่งผลให้ระดับพลังงานในร่างกายลดต่ำลง ถึงแม้จะนอนหลับเพียงพอแล้วก็ตาม อาจมีส่วนที่ทำให้เซื่องซึม และเหนื่อยล้า

นอกจากนี้ หากร่างกายขาดแคลเซียม ยังเป็นสาเหตุหลักของโรคกระดูกพรุน เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นมวลกระดูกจะบางลง จึงเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกทรุด เปราะ แตกหักได้ง่าย ส่งผลให้เกิดอาการ ปวดหลัง กระดูกโก่งงอ เคลื่อนไหวและใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบาก ร้ายแรงทาสุดอาจส่งผลถึงขั้นทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงขาดแคลเซียม

การขาดแคลเซียมเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น กินอาหารที่มีแคลเซียมอย่างไม่เพียงพอ การ ขาดวิตามินดี จนทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง การบริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป รวมทั้งรวมถึงฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนหรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน นอกจากนี้การตั้งครรภ์ และให้นมบุตรก็ทำให้ร่างกายมีความต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดแคลเซียมได้หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอได้

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม

อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เช่น นม ชีส โยเกิร์ต ถั่วอัลมอนด์ ถั่วเหลือง ผักใบเขียว ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ ได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย รวมทั้งแคลเซียมที่อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งหากจะกินในรูปแบบนี้ควรจะต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนบริโภค โดยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ควรได้รับแคลเซียม 1,000 – 1,500 มก. /วัน

อ้างอิง

1. 5 signs that indicate low calcium level in the female body : https://shorturl.asia/zhSYB
2. งานวิจัยพบคนไทยได้แคลเซียมไม่พอ (สำนักงานกองทุนการการสร้างเสริมสุขภาพ) : https://shorturl.asia/W8C4x
3. ภัยเงียบ!!คนไทย 90% เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) : https://shorturl.asia/YwPxq

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

มารู้จักกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) และวิธีป้องกันง่ายๆ

รู้ให้ละเอียดยิ่งขึั้นกับเชื้อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน