โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบสุขภาพที่อันตรายถึงชีวิต หากขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจที่รุนแรง มักเกิดจากภาวะไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และการสะสมของแคลเซียมบริเวณผนังหลอดเลือดแดง หรือ ที่เรียกว่า หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ
หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Calcification) คือ ภาวะที่มีการสะสมของแคลเซียม หรือ ที่เรียกว่า “หินปูน” ที่บริเวณผนังของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง หรือไม่เพียงพอ และนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด โดยมักมีอาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก รู้สึกวิงเวียนและเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หากมีอาการรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้
หินปูนหัวใจ มีสาเหตุสำคัญมาจากการสะสมของ “แคลเซียม” ที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ กระบวนการนี้เกิดขึ้นเมื่อ มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และสะสมตามผนังหลอดเลือดแดงจนทำให้เกิดความเสื่อมสภาพ เมื่อผนังหลอดเลือดเสื่อมลง ร่างกายจะตอบสนองด้วยการสร้างแคลเซียมมาเกาะที่บริเวณนั้น เพื่อป้องกันการรั่วซึมของเลือด แต่การสะสมของแคลเซียมนี้กลับส่งผลเสียในระยะยาว โดยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น จนนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)ได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจรุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจวาย โดยปัจจัยเสี่ยงที่เร่งการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่
ดังนั้น การควบคุมทั้งระดับไขมัน น้ำตาล และแคลเซียมในเลือด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
ถึงแม้ว่าการได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ จะมีความสำคัญต่อการป้องกันภาวะกระดูกพรุนเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ยังมีข้อควรระวังที่สำคัญ เกี่ยวกับการบริโภคแคลเซียม ดังนี้
ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มรับประทานแคลเซียมเสริม โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
การเสริมแคลเซียมอย่างถูกวิธี นอกจากจะได้ประโยชน์ในการ บำรุงกระดูก แล้ว ยังไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อหินปูนเกาะหลอดเลือดอีกด้วย โดยแนะนำให้เลือกแคลซียมจากแหล่งอาหารเหล่านี้
นอกจากเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมแล้ว การออกกำลังกายและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการสะสมหินปูนในหลอดเลือดได้ และสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันภาวะหินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ คือ การควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง อาจเข้ารับการตรวจระดับแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เพื่อหาแนวโน้มการเกิดโรคและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
📌 สนใจข่าวสารสุขภาพเพิ่มเติมและสอบถามผู้เชี่ยวชาญของ 𝐌𝐄𝐆𝐀 𝐖𝐞 𝐜𝐚𝐫𝐞 ได้ที่ 𝐋𝐢𝐧𝐞@ : @𝐦𝐞𝐠𝐚𝐰𝐞𝐜𝐚𝐫𝐞 หรือ คลิก
วิตามินซี และฟ้าทะลายโจร2 สิ่งสำคัญของผู้ติดเชื้อ เมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน