Search

เมื่อคุณเครียด Vitamin B ช่วยได้

เครียด


ปัญหาความเครียดจากสถิติล่าสุดของกรมสุขภาพจิตที่สำรวจในปี 2562 พบว่าคนไทยโดยเฉพาะวัยรุ่น มีเเนวโน้มเครียดสูงสอดคล้องกับการโทรศัพท์เข้ามาขอคำปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 พุ่งสูงมากถึงเกือบ 10,000 ราย ในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 11- 19 ปี ซึ่งวิธีการลดความเครียดที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำมีหลายวิธี เช่น การใช้ดนตรีบำบัด (Music Therapy), การสูดกลิ่นน้ำมันหอมระเหย, การออกกำลังกาย, การทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆ แล้ว ยังแนะนำให้รับประทาน วิตามินบี (Vitamin B) ที่มีส่วนช่วยในการเผาผลาญสารอาหารที่จะเป็นพลังงานให้กับสมอง ช่วยให้สมองสดชื่น และปลอดโปร่ง โดยวิตามินบีที่สำคัญ มีทั้งหมด 10 ชนิด ซึ่งมีประโยชน์ในการบำรุงสมองและระบบประสาทที่เเตกต่างกันออกไป

ความเครียด คืออะไร?

ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นสภาพจิตใจทางด้านลบ ทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ ตื่นกลัว วิตกกังวล เป็นสิ่งหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เรามีการตอบสนองต่อเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามากระทบร่างกายทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น อาการเครียดแล้วปวดหัว อ่อนเพลีย เครียดลงกระเพาะทำให้ปวดท้อง หรือเครียดจนนอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนน้อย โดยความเครียดมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

  1. ความเครียดเฉียบพลัน (Acute stress)
    เป็นลักษณะของความเครียดที่เกิดขึ้นแล้วร่างกายก็ตอบสนองทันที โดยร่างกายจะกระตุ้นระบบต่างๆให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงระบบการเผลาผลาญจึงมีการใช้วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ และมีการหลั่งสารคอร์ติซอล เพื่อใช้ในการปรับสมดุลสภาวะเครียดที่เกิดขึ้น เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสภาวะสู่ปกติเหมือนเดิม แต่อาจมีอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย มึนงง เป็นอาการแสดงของภาวะเครียดในระยะเฉียบพลัน
  2. ความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress)
    เป็นลักษณะของความเครียดที่เกิดขึ้น แต่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้นได้ทันที ยิ่งเมื่อเวลาผ่านไปความเครียดดังกล่าวก็จะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสารคอร์ติซอลก็สะสมในร่างกาย ส่งผลต่อสภาวะการดำเนินชีวิตเช่นนอนไม่หลับ สมองเบลอ เกิดภาวะเฉื่อยชา รวมถึงการเกิดโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมในระยะยาว นอกจากสภาวะทางร่างกายและจิตใจแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานลดน้อยลง ทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมาได้ง่าย

5 โรคร้ายที่เกิดจากความเครียด

ความเครียด เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคร้าย โดยโรคที่มักพบได้มากคือโรคความดันโลหิตสูง เมื่อร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ทิซอล (Cortisol) และอะดรินาลีน (Adrenaline) ออกมา ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น ผนังหลอดเลือดมีการหดเกร็งมากขึ้น จึงทำให้เกิดความดันเลือดสูงในช่วงที่เกิดความเครียด หากมีภาวะเป็นเวลานานและไม่ได้รับการรักษา ในอนาคตมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคไมเกรน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ

  1. โรคความดันโลหิตสูง
    จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีความวิตกกังวลหรืออยู่ในภาวะเครียด มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า โดยภาวะเครียดจากการทำงานซึ่งมีผลมาจากความทะเยอทะยานสูงและขาดการยับยั้งใจ จะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจช่องซ้ายมีขนาดโตขึ้นอีกด้วย
  2. โรคหัวใจ
    ความเครียดฉับพลัน มีผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและมีผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมาได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่แล้วมีโอกาสหัวใจวายได้สูงขึ้นกว่าปกติ
  3. ปวดศีรษะไมเกรน
    เป็นอาการปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่งที่สร้างความทรมานและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยจะมีอาการปวดหัวข้างเดียวหรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วค่อยปวดทั้ง 2 ข้าง มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป การขาดซีโรโทนินจะทำให้หลอดเลือดเกิดพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้
  4. โรคนอนไม่หลับ
    อาการเครียดนอนไม่หลับ มักพบมากในช่วงวัยทำงาน เพราะได้รับความกดดันจากการทำงานและสภาพแวดล้อมที่พบเจอ จนเกิดภาวะความเครียดสะสม เป็นผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ร่างกายเริ่มอ่อนล้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ร่างกายทรุดหนัก
  5. เครียดลงกระเพาะ
    เมื่อความเครียดสะสมเป็นเวลานาน เป็นเหมือนตัวจุดชนวนร่างกายกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้มีอาการท้องผูก ท้องอืด ลำไส้แปรปรวน และสามารถเป็นกรดไหลย้อนได้

วิตามินบี (Vitamin B) ช่วยลดความเครียดได้อย่างไร?

วิตามินบี (Vitamin B) มีความจำเป็นต่อร่างกายโดยจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ของปฏิกิริยาเผาผลาญสารอาหาร เพื่อนำไปสร้างสารสำคัญต่างๆ แก่ร่างกายให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงมีการทำงานอย่างสมบูรณ์ภายในร่างกายอย่างระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อร่างกายเกิดความเครียดจะมีการผลิตฮอร์โมนเครียดหรือฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ขึ้นมา เพื่อจัดการกับความเครียด แต่เมื่อความเครียดที่มีมากขึ้นจะเกิดการสะสมของฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น ทำให้เกิดการเผาผลาญในร่างกายและใช้วิตามินบีในร่างกายมากขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้เกิดอาการอ่อนล้า อ่อนเพลีย มึนงง สมองล้า และส่งผลเสียต่อร่างกายไปมากกว่าเดิม ดังนั้น การได้รับวิตามินบีในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยลดความเครียดและอาการอ่อนเพลียได้

ประโยชน์ของวิตามินบีที่ดีต่อร่างกาย

วิตามินบี (Vitamin B) เป็นหนึ่งในวิตามินพื้นฐานที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะทางด้านการบำรุงระบบสมองและประสาท ช่วยลดความเครียดป้องกันโรคซึมเศร้า รวมถึงอาการวิตกกังวล ซึ่งเราสามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น พืชตระกูลถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ไข่ นม ยีสต์ และผักใบเขียว เป็นต้น แต่ด้วยในปัจจุบันวิถีชีวิต การทำงานที่มีการเเข่งขันสูง มีเเรงกดดัน ทำให้เผชิญความเครียดแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ร่างกายดึงวิตามินบีออกมาใช้ในปริมาณที่มาก ประกอบกับการละเลยการทานอาหารที่มีประโยชน์ สาเหตุเหล่านี้อาจทำให้ได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอในเเต่ละวัน ดังนั้นการเสริมวิตามินบีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินอย่างพอเพียงต่อความต้องการในการช่วยลดความเครียด ทำให้สมองสดชื่น ปลอดโปร่ง

วิตามินบี 1 (Thiamine)
มีความจำเป็นต่อระบบประสาท เนื่องจากมีความจำเป็นในการสร้างสารสื่อประสาท ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ และลดอาการวิตกกังวล

วิตามินบี 2 (Riboflavin)
เป็นปัจจัยสำคัญของการหายใจระดับเซลล์ ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม เล็บ เเละช่วยในการมองเห็น

วิตามินบี 3 (Nicotinamide)
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและระบบประสาท บรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรน ป้องกันโรคซึมเศร้าที่มีสาเหตุมาจากความเครียดเรื้อรัง

วิตามินบี 4 (Choline)
วิตามินชนิดนี้ผลิตโดยตับ ช่วยในการพัฒนาสมอง สร้างสัญญาณสื่อประสาท ทำให้มีความจำที่ดีขึ้น อีกทั้งวิตามินชนิดนี้มีส่วนช่วยลดการสะสมของไขมันในเลือดด้วย

วิตามินบี 5 (Pantothenic acid)
จำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาท ช่วยบรรเทาความเครียด เเละช่วยในการสร้างฮอร์โมนลดเครียดของต่อมหมวกไต

วิตามินบี 6 (Pyridoxine)
เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตสารสื่อประสาท และช่วยสร้างสารต้านอาการซึมเศร้า

วิตามินบี 7 (Biotin)
มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต การสร้างพลังงาน ช่วยให้ระบบประสาทแข็งแรง ช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย

วิตามินบี 8 (Inositol)
มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของสารเคมีในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการเครียด ป้องกันโรคซึมเศร้า และลดความวิตกกังวล

วิตามินบี 9 (Folic acid)
วิตามินบี 9 จำเป็นต้องทำงานร่วมกับวิตามินบี 12 จะช่วย บรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการทางประสาท อาการปวดศีรษะ อาการขี้หลงขี้ลืม อารมณ์เเปรปรวนหงุดหงิดง่าย
วิตามินบี 12 (Cobalamin)
ช่วยบำรุงประสาท ทำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น และช่วยเพิ่มสมาธิความจำ

ประโยชน์ของวิตามินบีต่อภูมิคุ้มกัน

วิตามินบีมีส่วนช่วยควบคุมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างปกติ จากงานวิจัยพบว่า ‘วิตามินบี’ ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ที่จำเป็นในการช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและรักษาระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยวิตามินบีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

B1 : จำเป็นต่อการช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน
B2 : ช่วยลดการแบ่งตัวของไวรัส
B3 : ช่วยลดการสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบที่ปอด
B5 : ช่วยลดการอักเสบ
B6 : ช่วยควบคุมระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับปกติที่เหมาะสม
B9 : ช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์
B12 : ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบของเซลล์ที่เกิดจากไวรัส

หากร่างกายขาดวิตามินบีจะส่งผลอย่างไร?

อาการของคนที่มีวิตามินบีไม่เพียงพอ จะแสดงออกมาพร้อมความอ่อนเพลีย ร่างกายเมื่อยล้า รวมถึงอาจส่งผลต่อสภาพจิตใจ คือ ความเครียดและวิตกกังวล ซึ่งแสดงออกมาโดยอาการมึนงง เบลอ มีความคิดช้า นึกอะไรไม่ออก หัวตื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งเรื่องการเรียนและการทำงาน

แหล่งอาหารธรรมชาติที่มีวิตามินบีสูง

แหล่งอาหารที่ให้วิตามินบี เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง รำข้าว ยีสต์ เครื่องในสัตว์ เนื้อหมู ปลา นมเปรี้ยว และผักใบเขียว แต่ปัจจุบันชีวิตประจำวันมีความเร่งรีบสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ชีวิตในเมือง จนทำให้ไม่ได้รับสารอาหารที่หลากหลายมากนัก การทานวิตามินบีในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยเสริมวิตามินบีได้ดีเลยทีเดียว

วิตามินบี (Vitamin B) เหมาะกับใครบ้าง ?

ความจริงแล้วทุกคนจำเป็นต้องได้รับวิตามินบีอย่างเพียงพอในแต่ละวัน และอาจจะต้องมีปริมาณที้สูงขึ้น โดยเฉพาะบุคคล 3 กลุ่มดังต่อไปนี้

  1. คนวัยทำงาน และนักเรียน นักศึกษา ที่ทำงานหนักมีความเครียด
    การเสริมวิตามินบี ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ เพราะเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะดึงวิตามินบีออกมาใช้ วิตามินจึงมีปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ จนเหลือน้อย เกิดภาวะขาดวิตามินบี ซึ่งแสดงออกมาโดยอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น วิตกกังวล และมีความเครียดเพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
    การดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้วิตามินบีลดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปร่างกายต้องการพลังงานที่จะเผาผลาญ ร่างกายจึงดึงเกลือแร่และวิตามินออกมาใช้ในปริมาณมากกว่าปกติ แสดงออกมาโดยอาการเดินเซ ปวดเมื่อตามตัว หรือมีอาการแฮ้งค์ หรือเมาค้าง
  3. ผู้ที่มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า
    สาเหตุหนึ่งของอาการชาปลายมือปลายเท้า คือเกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาท และระบบสัญญาณสื่อประสาทจากการที่ร่างกายขาดวิตามินบี จนทำให้การส่งกระแสประสาทช้าลง การเสริมวิตามินบีอย่างเพียงพอในแต่ละวัน จะช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทอย่างมีประสิทธิภาพ และมีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทและซ่อมแซมเส้นประสาทได้

อ่านต่อ : วิตามินบี (Vitamin B) สำคัญกับร่างกายอย่างไร

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิตามินบี (Vitamin B)

นอกจากวิตามินบีจะให้ประโยชน์กับร่างกาย และสามารถช่วยลดความเครียดได้แล้ว หลายคนอาจจะยังสงสัย และมีคำถามเกี่ยวกับวิตามินชนิดนี้ เช่น

  1. วิตามินบีป้องกันอาการเมาค้างได้ จริงหรือไม่?
    วิตามินบี สามารถป้องกันอาการเมาค้างได้จริง เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วิตามินบีในร่างกายลด การทานวิตามินบีก่อนดื่มเป็นการเติมวิตามินบีให้เพียงพอก่อนที่ร่างกายจะดึงวิตามินออกมาใช้เพื่อการเผาผลาญ จึงดื่มได้ยาวขึ้นและป้องกันอาการเมาค้างได้
  2. วิตามินบีปริมาณสูง อันตรายไหม?
    วิตามินบี รวมสูตรเข้มข้นมีความปลอดภัย เพราะวิตามินบีเป็นวิตามินที่สามารถละลายในน้ำได้ และเมื่อร่างกายได้รับวิตามินบีไปแล้ว วิตามินบีจะถูกกำจัดออกทางปัสสาวะและเหงื่อ จึงไม่สะสมในร่างกายอย่างแน่นอน
  3. ทำไมรับประทานวิตามินบีแล้วปัสสาวะเป็นสีเหลือง?
    หลายคนที่เคยทานวิตามินบีรวม อาจพบว่าตัวเองมีปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือมีกลิ่นฉุน จึงเกิดความกังวล แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรที่น่ากังวล เพราะสาเหตุมาจากวิตามินบีชนิดหนึ่งคือ วิตามินบี 2 ที่มีสีเหลืองนั่นเอง เมื่อเรารับประทานวิตามินบีเข้าไปแล้ว วิตามินบีจะละลายน้ำไม่สะสมในร่างกาย และขับออกทางปัสสาวะ โดยเมื่อมีการขับวิตามินบี 2 ออกมา ปัสสาวะจะมีสีเหลืองและกลิ่นที่เด่นชัดกว่า ซึ่งเป็นปกติของการขับวิตามินบี 2 นั่นเอง
  4. หากเลือกรับประทานวิตามินบีเสริม ควรเลือกอย่างไร?
    สำหรับการรับประทานวิตามินบี ควรพิจารณาเลือกสูตรที่ประกอบด้วยวิตามินบีหลายชนิดและครบถ้วนทั้ง 10 ชนิด เพราะวิตามินบีจะทำหน้าที่ร่วมกันในการทำให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกาย โดยเลือกรับประทานสูตรที่ให้วิตามินบีปริมาณสูง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยขนาดแนะนำของวิตามินบี แต่ละชนิดอยู่ที่ 25-300 มิลลิกรัมต่อวัน
    นอกจากนี้ยังควรเลือกรับประทานวิตามินบีสูตรสมดุล คือให้วิตามินบีแต่ละชนิดมีปริมาณเท่ากัน เพื่อไม่ให้ขัดขวางการ ดูดซึมซึ่งกันและกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า การได้รับวิตามินบีชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป จะไปแย่งการดูดซึมวิตามินบีตัวอื่นได้

วิธีเลือกรับประทานวิตามินบี (Vitamin B)

สำหรับการรับประทานวิตามินบี ควรพิจารณาเลือกสูตรที่ประกอบด้วยวิตามินบีหลายชนิดและครบถ้วนทั้ง 10 ชนิด เพราะวิตามินบีจะทำหน้าที่ร่วมกันในการทำให้ปฏิกิริยาต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเลือกรับประทานสูตรที่ให้วิตามินบีปริมาณสูง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยขนาดแนะนำของวิตามินบี แต่ละชนิดอยู่ที่ 25-300 มิลลิกรัมต่อวัน
นอกจากนี้ยังควรเลือกรับประทานวิตามินบีสูตรสมดุล คือ ให้วิตามินบีแต่ละชนิดในปริมาณเท่ากัน เพื่อไม่ให้ขัดขวางการ ดูดซึมซึ่งกันและกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า การได้รับวิตามินบีชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป จะไปแย่งการดูดซึมวิตามินบีตัวอื่นได้

รับประทานวิตามินบี (Vitamin B) อย่างไรให้ร่างกายได้ประโยชน์ที่สุด?

โดยทั่วไปสามารถทานวิตามินบีได้ทุกวันในช่วงเช้าเพื่อให้สดชื่น สมองปลอดโปร่ง แต่สำหรับบางรายที่รู้สึกอ่อนเพลียจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน สามารถทาน 1 เม็ด ก่อนนอนเพื่อลดความอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ลดความเครียดแก่สมองและร่างกาย ช่วยให้หลับสบายมากขึ้น ส่วนผู้ที่ต้องการป้องกันอาการเมาค้าง แนะนำให้ทานก่อนดื่มแอลกอฮอล์ 30 นาที และทานหลังตื่นนอนอีก 1 ครั่งเพื่อให้สมองปลอดโปร่ง

การรับประทานวิตามินบีเป็นเพียงแค่หนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเครียด ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถจะทำควบคู่ไปพร้อมกันได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การฟังเพลง การทำสิ่งสันทนาการต่างๆ ที่สำคัญที่สุดก็คือ การปล่อยวางสิ่งที่มารบกวนชีวิต จัดระบบความคิด จัดระเบียบความสำคัญในหน้าที่การงานต่างๆ ซึ่งหากทำได้ครบทุกข้อรับรองว่า... เราจะสามารถเอาชนะความเครียดได้อย่างแน่นอน ด้วยความปราถนาดีจาก MEGA We care 
อ้างอิง

www.prdmh.com/ข่าวสาร/ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต/1472-กรมสุขภาพจิต-เผยวัยรุ่นไทยปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต-1323-ปี-62-พบ-“ปัญหาเครียด”-มากสุด-แนะเทคนิคจัดการความเครียด.html
https://medthai.com/วิตามินบีรวม/
https://www.healthline.com/health/food-nutrition/vitamin-b-complex
SHAKOOR, Hira, et al. Be well: A potential role for vitamin B in COVID-19. Maturitas, 2021, 144: 108-111.

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ภาวะนอนไม่หลับ

วาเลอเรียน สมุนไพรที่ช่วยให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพ

ภาวะนอนไม่หลับ

อยากนอน แต่นอนไม่หลับ

ภาวะนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ ปัญหาสุขภาพวัยสูงอายุ