Search

แก้ปัญหา ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ในวัยทำงาน

ฮอร์โมนเพศชาย
ฮอร์โมนเพศชายต่ำ แก้ยังไง

เมื่อนึกถึงภาวะของระดับฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงผู้ชายวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ แต่เชื่อหรือไม่… ผู้ชายที่อายุยังไม่มากหรือผู้ชายที่อยู่ในวัยทำงานก็สามารถพบอาการลดลงของฮอร์โมนนี้ได้เช่นกัน โดยปกติฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จะมีมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น แต่ระดับของฮอร์โมนนี้จะเริ่มลดลงประมาณ 1 % ในแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปีเป็นต้นไป ซึ่งในช่วงวัยนี้อาจจะพบปัญหาได้ไม่มาก แต่ก็มีโอกาสได้เช่นกัน ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ก็สามารถสันนิษฐานได้ว่า ฮอร์โมนเพศชายต่ำ


สาเหตุที่ทำให้ ‘ฮอร์โมนเพศชายต่ำ’ ในวัยทำงานมากกว่าปกติ

ตามหลักการแพทย์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ฮอร์โมนเพศจะลดลงประมาณ 1% สวนทางกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่ปัจจัยสำคัญของการลดลงอย่างผิดปกติของฮอร์โมนเพศในผู้ชายวัยทำงานที่สำคัญก็คือ ‘พฤติกรรมการใช้ชีวิต’ หรือไลฟ์สไตล์ในแต่ละวันนั่นเอง

  1. ความเครียด จุดเริ่มต้นการลดลงของฮอร์โมนเพศที่คาดไม่ถึง
    งานวิจัยในต่างประเทศมากมายระบุว่า “ฮอร์โมนความเครียด (cortisol) และฮอร์โมนเพศ (testosterone) มีการทำงานที่สัมพันธ์กันในเรื่องที่เกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชาย” ความเครียดทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งผลิตโดยต่อมหมวกไตออกมามากเกินความจำเป็น ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวมีความสำคัญต่อการควบคุมความดันโลหิต และการทำงานปกติของระบบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือดการไหลเวียนโลหิตและการสืบพันธุ์ของผู้ชาย และหากผู้ชายมีความเครียดเรื้อรังเป็นเวลานานก็ยิ่งส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงไปอยู่ในเกณฑ์ที่ผิดปกติทำให้ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศลดลง
  2. การสูบบุหรี่เป็นประจำ
    หนึ่งในสาเหตุการลดลงของฮอร์โมนเพศอย่างผิดปกติก็คือ การสูบบุหรี่ มีงานวิจัยในต่างประเทศหลายชิ้นระบุว่า “สารพิษในบุหรี่โดยเฉพาะนิโคติน ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศของเพศชายโดยตรง ซึ่งสารดังกล่าวจะเข้าไปกระตุ้นการบีบตัวของหลอดโลหิต ทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดต่ำลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะทางเพศของเพศชาย รวมทั้งมีส่วนทำให้การผลิตน้ำอสุจิลดลง”
  3. ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
    การดื่มที่มากเกินพอดี ก็ส่งผลต่อฮอร์โมนเพศที่ลดลงอย่างผิดปกติได้เช่นกัน เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไปมีส่วนทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้น และทำให้อัณฑะหดตัวลง ซึ่งกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชาย
  4. การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย
    มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่า การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบมากเกินไปมีส่วนทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงได้ถึง 25%

    นอกจากนี้เมื่อเลือกรับประทานอาหารหวาน อาหารมัน หรืออาหารที่มีแคลอรี่สูงเป็นประจำ ปัญหาสุขภาพที่ตามมาก็คือ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอล รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือด ในทางการแพทย์ระบุว่า “ฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงมีความสัมพันธ์กับภาวะอ้วนลงพุง คือมีการสะสมของไขมันในร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเอวและหน้าท้อง รวมถึงน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน” ส่วนการไม่ชอบออกกำลังกาย หรือไม่เคยออกกำลังกาย ปัจจัยนี้ยิ่งทำให้ฮอร์โมนเพศลดลงมากยิ่งขึ้น

5 วิธีเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายอย่างเป็นธรรมชาติ

  1. ออกกำลังกาย
    การออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศชายให้กลับมาอยู่ในระดับปกติ มีการศึกษาในต่างประเทศหลายชิ้นพบว่า “ผู้ชายที่ชอบออกกำลังกายเป็นประจำจะมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น” ส่วนการวิจัยของประเทศญี่ปุ่นที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างผู้ชายวัยทำงานที่เป็นโรคอ้วนและต้องการเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายพบว่า “การออกกำลังกายที่เข้มข้นมีประโยชน์มากกว่าการลดน้ำหนักด้วยการลดปริมาณอาหาร ส่วนวิธีการออกกำลังกายที่ถือว่าเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายทั้งในระยสั้นและยาวได้ดีที่สุดก็คือ การยกน้ำหนักหรือ Weight Training”
  2. ลดความเครียด
    คนในวัยทำงานการพยายามลดความเครียดอาจจะดูเป็นเรื่องที่ยากอยู่พอสมควร แต่ต้องพยายามที่จะต้องปฏิบัติ เพราะอย่างที่กล่าวไปว่าฮอร์โมนความเครียด (cortisol) ส่งผลโดยตรงกับฮอร์โมนเพศชาย ยิ่งเครียดมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ฮอร์โมนเพศลดลงเท่านั้น และเพื่อสุขภาพที่ดีรวมทั้งเป็นรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายไม่ให้ลดลงอย่างผิดปกติก็ควรพยายามลดความเครียดในชีวิตประจำวัน หรือในการทำงาน ปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับให้เพียงพอ และลดความเครียด
  3. รับประทานอาหารเสริมวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับผู้ชาย
    ปัจจุบันการรับประทานวิตามินเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะสารอาหารในกลุ่มที่เรียกว่า ZMA ที่ประกอบไปด้วย แร่ธาตุสังกะสี และแมกนีเซียม ที่ให้ประโยชน์โดยตรงต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ ซึ่งมีผลการวิจัยที่เชื่อถือได้ 100% จากมหาวิทยาลัย Western Washington ในสหรัฐอเมริกาที่ระบุไว้ว่า “ผู้ชายที่มีแร่ธาตุสังกะสีในร่างกายอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สามารถช่วยให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นได้ถึง 43.7% ในระยะเวลาเพียงแค่ 2 เดือน นอกจากนี้แร่ธาตุในกลุ่มนี้ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีแร่ธาตุนี้ไม่เพียงพอ”

    ส่วนซีลิเนียม (Selenium) ก็ยังจำเป็นสำหรับผู้ชายเช่นกัน ในการช่วยสร้างฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มจำนวนอสุจิ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ จะทำงานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินอี วิตามินซี เบต้าแคโรทีน เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ช่วยชะลอวัย และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังประโยชน์กับผู้ชายที่ชอบออกกำลังกายในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นกีฬา ช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และลดอาการบาดเจ็บระหว่างออกกำลังกาย

    นอกจากนี้สารอาหารที่เหมาะกับผู้ชายอีกหนึ่งประเภทก็คือ แอล-คาร์นิทีน (L-Carnitine) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมันขนาดเล็กเข้าไปใช้ในเซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานให้กับร่างกาย แต่ถ้าร่างกายได้รับสารอาหารนี้ ไม่เพียงพอการเผาผลาญก็จะทำงานลดลง ส่งผลให้มีควาเสี่ยงสูงที่จะกลายเป็นผู้ชายอ้วนลงพุง และมีโอกาสอาจเกิดไขมันสะสมตามหลอดเลือด เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันและความดันโลหิตสูงตามมา และสารอาหารที่จำเป็นประเภทสุดท้ายที่ผู้ชายวัยทำงานจะขาดไม่ได้เลยก็คือ วิตามินบีรวม (Multi-Vitamin B) ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความสดชื่นและกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย ส่งผลให้สามารถออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่
    การนอนหลับพักผ่อนมีความสำคัญต่อการเพิ่ม และลดของฮอร์โมนเพศชาย มีการศึกษาชิ้นหนึ่งในต่างประเทศพบว่า “การนอนหลับเพียง 5 ชั่วโมงต่อคืนสัมพันธ์กับการลดระดับฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงถึง 15%” ดังนั้นการนอนหลับให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อคืนคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพ และระดับของฮอร์โมนเพศชาย
  5. เลิกสูบบุหรี่ และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
    การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อ ปอด หัวใจ หลอดเลือด และอวัยวะภายในที่สำคัญของร่างกายยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศชายที่ลดลงอีกด้วย สารพิษในบุหรี่โดยเฉพาะ ‘นิโคติน’ คือตัวการที่เข้าไปทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดต่ำลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโตสเตอโรน และทำให้เกิดการรวมตัวของกรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็ก ๆ ที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศเสียไป ทำให้ความแข็งตัวน้อยลง นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังส่งผลต่อความแข็งแรงและจำนวนของอสุจิที่ลดลงในระยะยาวผู้ชายวัยทำงานมีความเสี่ยงที่อาจประสบกับปัญหาการมีบุตรยากได้

    ส่วนการดื่มแอลกอฮอล์ หากดื่มมากเกินไปนอกจากจะเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับตับ โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็งแล้ว ยังส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศชายที่ร่างกายจะผลิตได้น้อยลง ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จำนวนอสุจิลดลงและไม่แข็งแรง รวมถึงเส้นผมหลุดร่วงได้อีกด้วย
อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ฮอร์โมนเพศหญิง

ช่องคลอดแห้ง ปัญหาใหญ่สุขภาพผู้หญิง

ฮอร์โมนเพศหญิง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส

ฮอร์โมนเพศหญิง

5 วิธี ชะลอวัย เมื่อวัยทองมาเยือน