Search

เข้าสู่ ‘วัยทอง’ ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

ฮอร์โมนเพศหญิง

สารอาหารบำรุงร่างกายสำหรับผู้หญิงวัยทอง


เมื่อก้าวเข้าสู่เลข 4 หรือที่เรียกกันว่า ‘วัยทอง’ ผู้หญิงจะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ แน่นอนว่าความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ไม่น้อย การเตรียมตัวให้พร้อมรับมือจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ

วัยทอง (Menopause) คืออะไร?


วัยทอง (Menopause) คือ วัย 45-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของฮอร์โมน โดยเฉพาะในเพศหญิงเพราะเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุดังกล่าวรังไข่จะหยุดทำงานและไม่มีการตกไข่ นั่นหมายความว่าจะไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา

ภาวะหมดประจำเดือน = วัยทอง


โดยการมีประจำเดือนเริ่มจากการที่ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนออกมากระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่ออกมา เมื่อไข่สุกจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนออกมากระตุ้นให้ผนังมดลูกก่อตัวหนาขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวในกรณีที่ไข่ได้รับการผสม แต่เมื่อไข่ไม่ได้รับการผสม ผนังมดลูกก็จะลอกหลุดออกมาเป็นรอบเดือน เมื่อหมดประจำเดือนก็เป็นการสิ้นสุดของภาวะเจริญพันธุ์

ภาวะหมดประจำเดือนจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป แต่การหมดประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกันไป โดยภาวะหมดประจำเดือนเป็นผลมาจากการที่รังไข่หยุดทำงาน ไม่มีการตกไข่และไม่สร้างฮอร์โมนเพศอีกต่อไป

โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงไทยจะเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนอายุประมาณ 50 ปี แต่ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกายจะเริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี จะเป็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ จนถึงอายุประมาณ 40 ที่ระดับฮอร์โมนจะผันผวนอย่างชัดเจนมากขึ้น เป็นที่มาของอาการผิดปกติต่างๆ

ช่วงของการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน (Menopause Transition) นี้ จะอยู่ประมาณ 4-5 ปี เป็นช่วงที่ผู้หญิงจะเริ่มมีอาการแปลกๆ รวมทั้งประจำเดือนมาไม่ปกติก่อนที่จะหยุดไปอย่างสิ้นเชิง ในทางการแพทย์ถ้าหากว่ารอบเดือนไม่มาติดต่อกันนาน 12 เดือน โดยที่ไม่อาจหาสาเหตุอื่นได้ ถือว่าหมดประจำเดือนแล้ว

สัญญาณเตือนเข้าสู่ ‘วัยทอง’

  1. อาการทางกาย
    เช่น เหงื่อออก ขี้ร้อน ร้อนวูบวาบ หงุดหงิด ปวดเมื่อตามตัว นอนไม่หลับ เป็นอาการที่เกิดจากร่างกายขาดฮอร์โมนเพศ ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะเมื่อฮอร์โมนน้อยลงทำให้การควบคุณอุณหภูมิไม่ดี ระบบหลอดเลือดจะปรับอุณหภูมิ ทำให้ร้อนวูบวาบเกิดขึ้นเป็นพักๆ และมักจะเป็นตอนกลางคืนทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่เต็มที่ ส่งผลเสียต่อการทำงานของสมอง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระยะปีแรกของวัยทอง อีกทั้งยังมีผิวหนังที่แห้งเหี่ยวและคัน ก็เกิดจากการขาดฮอร์โพศด้วยเช่นกัน ทำให้เนื้อเยื่อของผิวหนังขาดความยืดหยุ่นและชุ่มชื้น
  2. อาการทางอารมณ์
    ในบางคนอาจมีอามรณ์และจิตใจที่ไม่มั่นคงมากกว่าผู้อื่น เช่น หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิ กลัว และซึมเศร้าอาการเหล่านี้เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่ออารมณ์และจิตใจ
  3. โรคกระดูกพรุน
    ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงชนิดหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ทำหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระดูก คือ เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและลดกระบวนการสูญเสียแคลเซียมให้น้อยลง หน้าที่หลักของเอสโตรเจน คือการสงวนแคลเซียมในกระดูกไว้ โดยการยับยั้งกิจกรรมการสลายกระดูกให้น้อยลง โดยความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงอย่างช้าๆ อย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงอายุ 40 ปี การสลายของมวลกระดูกอาจบางลงจนเกินกระดูกพรุนได้ในวัยนี้ โดยโรคกระดูกพรุนจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่ถ้าหากไม่มีการป้องกัน อาจะทำให้กระดูกหันได้แม้จะได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย
  4. ช่องคลอดแห้ง
    จากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดบางลง ขาดความยืดหยุ่นและความชุ่มชื่น เมื่อมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้มีอาการเจ็บและอักเสบของช่องคลอดได้ จึงมีผลกระทบต่อความต้องการทางเพศลดลด นอกจากนี้เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณรอบๆ ช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะมีการฝ่อลีบและหย่อนตัวลง ทำให้มีปัญหาเรื่องการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เมื่อปัสสาวะบ่อยและมีอาการแสบที่ช่องทางออกของท่อปัสสาวะ การดูแลร่างกายสำหรับผู้หญิงวัยทอง ควรเน้นในเรื่องของการเติมฮอร์โมนจากธรรมชาติให้เพียงพอเพื่อความสมดุลของร่างกายและบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเข้าสู่วัยทอง MEGA We care จึงขอแนะนำ 5 สารอาหารสำคัญที่จะช่วยบำรุงร่างกายผู้หญิงวัยทองให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนี้

สารสกัดจากรากและเหง้าของต้นแบล็คโคโฮส (Black Cohosh)
สำหรับผู้ที่ต้องเผชิญกับอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับเหงื่อออกตอนกลางคืนของวัยทองจนทำให้ความสุขหายไปและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สารสกัดจากรากและเหง้าของแบล็คโคโฮสจะทำหน้าที่บรรเทาอาการของวัยทองได้เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนและเพิ่มการหลั่งสารเซโรโทนินในสมองส่วนของการควบคุมอารมณ์และอุณหภูมิในร่างกาย จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่มีอาการของวัยทองได้เป็นอย่างดี

สารสกัดจากจมูกถั่วเหลือง
ลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไปของวัยทอง นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนเป็นกังวล ไม่ว่าจะเป็นผิวที่แก่กว่าวัย ความหย่อนคล้อยของทรวงอก รวมถึงผิวหนังบริเวณช่องคลอดบางลง ซึ่งตัวช่วยที่แก้ไขปัญหานี้ได้ คือ สารสกัดจากจมูกถั่วเหลือง เพราะในจมูกถั่วเหลืองจะมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ‘ไอโซฟลาโวน’ ที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนจากธรรมชาติในปริมาณสูง จึงช่วยกระตุ้นลักษณะของเพศหญิงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลดความหย่อนคล้อยของทรวงอก เติมความสดใสเปล่งปลั่งให้ผิวหนัง และยังช่วยแก้ปัญหาช่องคลอดแห้งและบาง นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยทางการแพทย์ระบุว่าผู้ที่ได้รับสารสกัดจากจมูกถั่วเหลืองจะมีอัตราการสลายตัวของมวลกระดูกน้อยกว่า นั่นหมายความว่าสารสกัดจากจมูกถั่วเรื่องยังช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยทองได้อีกด้วย

น้ำมันดอกอีฟนิ่งพริมโรส
อีกหนึ่งปัญหากวนใจของผู้หญิงวัยทอง คือ การมีผิวหนังที่แห้งและบางลงทั้งผิวหนังทั่วร่างกายและผิวหนังบริเวณช่องคลอด ผิวหนังที่แห้งนี้จะบอบบางไม่แข็งแรงเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการแพ้และเป็นผื่นคันได้ง่าย ซึ่งในน้ำมันดอกอีฟนิ่งพริมโรสที่ประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็นจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้เซลล์ผิวหนัง ทั้งผิวกายและบริเวณช่องคลอด อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ผิว ทำให้ผิวกลับมาแข็งแรงไม่แพ้หรือเป็นผื่นได้ง่ายอีกด้วย

วิตามินรวมสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ
วิตามินเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับทุกเพศทุกวัยในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ปัจจุบันมีการรวมเอา วิตามินจำเป็นสำหรับผู้หญิงวัยทองเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีส่วนประกอบของสารอาหารที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง และเสริมความแข็งแรงให้กระดูก บำรุงดวงตา รวมถึงวิตามินและสารอาหารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมชราของร่างกาย

กรดอะมิโน
เป็นหน่วยเล็กๆ ของโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างโกรทฮอร์โมนซึ่งมีส่วนช่วยในการนอนหลับ เพราะเมื่ออายุเพิ่มความสามารถในการผลิตโกรทฮอร์โมนของร่างกายจะลดน้อยลง โดยลดลงถึง 14% ในทุก ๆ 10 ปี ทำให้นอนหลับไม่สนิทหรือตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถหลัต่อได้ ดังนั้นการเติมกรดอะมิโนให้ร่างกายจึงช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพยิ่งขึ้นและเกิดการซ่อมแซมส่วน ๆ ของของร่างกายในขณะนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิตามินอี (Vitamin E)
75%ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จะมีอาการร้อนวูบวาบ (Hot flashes) เนื่องจากสาเหตุเกิดจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง ดังนั้นการรับประทานวิตามินอี ปริมาณ400 IU ต่อเนื่องอย่างน้อย 4 สัปดาห์เป็นต้นไป สามารถบรรเทาอาการร้อนวูบวาบได้

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

ฮอร์โมนเพศหญิง

ช่องคลอดแห้ง ปัญหาใหญ่สุขภาพผู้หญิง

ฮอร์โมนเพศหญิง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำมันอีฟนิงพริมโรส

ฮอร์โมนเพศหญิง

5 วิธี ชะลอวัย เมื่อวัยทองมาเยือน