เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นจนเข้าสู่ วัยทอง ช่วงวัยนี้ถือเป็นรอยต่อของช่วงชีวิตระหว่างวัยผู้ใหญ่กับวัยสูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมถอยเกิดขึ้นกับร่างกายมากมาย ทั้งทางกายภาพ และระบบการทำงานของอวัยวะทุกระบบในร่างกาย ที่เห็นได้ชัดก็คือ การทำงานของรังไข่ที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิงน้อยลง จนนำไปสู่การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ถือเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงทุกคน
ผู้หญิงไทยวัยหมดประจำเดือนจะมีอายุเฉลี่ยโดยประมาณ 50 ปี (45-55 ปี) ซึ่งปัจจุบันผู้หญิงไทยมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี เท่ากับว่าหลังหมดประจำเดือนจะมีชีวิตอีกประมาณ 25 ปี หรือเทียบเท่า 1 ใน 3 ของชีวิต จึงมีแนวโน้มที่จะต้องใช้ชีวิตในวัยหมดประจำเดือนที่ยาวนานขึ้น และผู้หญิงทุกคนเมื่ออายุมากขึ้น จึงจำเป็นต้องให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือหลังวัยหมดประจำเดือนมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาของการขาดฮอร์โมนเพศ
วัยทอง (Menopause) คือช่วงวัยของผู้หญิงที่มีตั้งแต่อายุ 45-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของฮอร์โมน เพราะเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุนี้รังไข่จะหยุดทำงานและไม่มีการตกไข่ นั่นหมายความว่าจะไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือน และเกิดอาการผิดปกติทั้งทางร่างกาย และสภาวะทางอารมณ์ รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา
เป็นช่วงวัยที่รังไข่เริ่มผลิตฮอร์โมนเพศผิดปกติจนหยุดทำหน้าที่ในที่สุด โดยทั่วไปมีระยะเวลา 4-5 ปี ก่อนการหมดประจำเดือน ไปจนถึงหลังหมดประจำเดือนไปแล้วหนึ่งปี เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจนอาจส่งผลให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้แก่
เป็นช่วงวัยที่จะมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายในชีวิต เนื่องจากรังไข่หยุดทำงานถาวร เป็นจุดหนึ่งในชีวิตที่แบ่งระหว่างช่วงชีวิตวัยเจริญพันธุ์ และช่วงชีวิตหลังวัยหมดประจำเดือน ซึ่งการหมดประจำเดือนหมายถึง การที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลาตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไปจากการที่รังไข่หมดความสามารถในการเจริญพันธุ์ และหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศ ซึ่งบางคนยังคงมีอาการเช่นเดียวกับอาการที่เกิดขึ้นช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือนต่อไปอีก 4-5 ปี
เป็นช่วงวัยในระยะยเวลาหลังหมดประจำเดือน โดยนับจากปีที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นทางร่างกายและจิตใจอาจน้อยลง แต่จะมีปัญหาสุขภาพตามมาภายหลังจากการขาดฮอร์โมนเพศ ได้แก่ ปัญหากระดูกพรุน หรือกระดูกหักง่าย เสี่ยงไขมันในเลือดสูง รวมทั้งโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
1. ใช้ฮอร์โมนทดแทน
โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มีประโยชน์ในการช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบเหงื่อออกมาก อาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท เมื่อได้รับฮอร์โมนในขนาดที่เหมาะสมก็จะช่วยให้อาการดังกล่าวลดลงหรือหมดไปได้ แต่ก็มีผลเสียที่อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดตันหลอดเลือดดำ จึงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
2. การใช้ยาตามอาการ
ยาที่ใช้ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้าบางชนิด เช่น Fluoxetine, Paroxetine ที่ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น การใช้ยานอนหลับเพื่อแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้ติดยา
3. การใช้สารอาหาร
ถือเป็นทางเลือกที่มีผู้หญิงวัยทองเลือกใช้กันเพิ่มขึ้น เช่น สารสกัดจากถั่วเหลือง วิตามินอี น้ำมันดอกอีฟนิ่งพริมโรส ซึ่งสารอาหารดังกล่าวมีการศึกษาในต่างประเทศพบว่าสามารถช่วยลดอาการ ร้อนวูบวาบได้ แต่อาจไม่ได้ผลดีมากนักกรณีผู้หญิงวัยทองที่มีอาการมาก
4. การใช้ยาสมุนไพรลด วัยทอง
ในต่างประเทศโดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกามีการนำเอาสมุนไพรที่ชื่อว่า แบล็กโคฮอส (Black cohosh) มาใช้ในการบรรเทาอาการ ซึ่งสมุนไพรชนิดนี้มีสรรพคุณในการรักษาอาการของการหมดประจำเดือนได้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน อารมณ์แปรปรวน ทำให้รู้สึกสบายเนื้อสบายตัว และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ
แบล็กโคฮอส (Black Cohosh) พืชประจำถิ่นของทวีปอเมริกาเหนือที่รู้จักกันมากว่า 100 ปี โดยอดีตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศเลือกนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคมาลาเรีย โรคข้อ อาการเจ็บคอ อาการปวดระหว่างมีประจำเดือน อาการปวดขณะคลอด ฯลฯ จนได้รับการระบุในตำรับยาของอเมริกาและเยอรมันสำหรับจุดประสงค์ดังกล่าว ต่อมาได้มีการใช้แพร่หลายในยุโรป เพื่อใช้บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Discomfort) อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) รักษาอาการที่เกี่ยวกับการหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า วิงเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ฯลฯ โดยแบล็กโคฮอส (Black Cohosh) จะออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และช่วยเพิ่มสารเซโรโทนินในสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์และอุณหภูมิในร่างกายทำให้อาการดีขึ้น
1. ผู้หญิงที่มีอาการเกี่ยวกับการหมดประจำเดือน ได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกกลางคืน อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ
2. ผู้หญิงที่มีข้อห้ามการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน
3. ผู้หญิงที่ต้องการทางเลือกเพื่อรักษาอาการของการหมดประจำเดือน นอกเหนือจากการใช้ฮอร์โมนทดแทน
ส่วนการรับประทานแบล็กโคฮอส (Black Cohosh) โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้หญิงวัยทองต้องการรับประทานขนาด 40 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง ต่อเนื่องอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เพื่อบรรเทาอาการจากภาวะหมดประจำเดือน
นอกเหนือจากสารอาหารที่สำคัญที่ต้องมีอย่างเพียงพอ รวมทั้งสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการของผู้หญิงวัยทองแล้ว ผู้หญิงในวัยนี้จำเป็นต้องใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ยิ่งโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้วเพื่อป้องกันไม่ให้สุขภาพมีการเสื่อมถอยที่เร็วเกินไป ส่วนผู้หญิงที่มีอาการวัยทองควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเป็นการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไขมันในเลือดสูง รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที เพื่อช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น และคลายความเครียด
-