ภาวะ ขาดโปรตีน ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลย

อื่นๆ
ขาดโปรตีน เกิดจากอะไร

รู้หรือไม่… อาการไม่กระฉับกระเฉง อ่อนเพลีย ผมร่วง ป่วยบ่อย และใช้เวลานานกว่าจะหายจากอาการป่าย นี่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีภาวะ ขาดโปรตีน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรละเลย และอาจเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ในอนาคต

โปรตีน (Protein) จำเป็นต่อร่างกายอย่างไร?  

ในร่างกายจะมีโปรตีน ( Protein ) เป็นส่วนประกอบมากถึง 75% ของน้ำหนักตัว โดยเป็นสารอาหารหลักที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ ทั้งยังเป็นโครงสร้างหลักของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ในวัยเด็กโปรตีนจะถูกนำมาใช้ในการเจริญเติบโต เสริมสร้างเนื้อเยื้อและฮอร์โมน

เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน ร่างกายจะต้องการโปรตีนปริมาณมากเพื่อนำไปสร้างพลังงาน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย สร้างกล้ามเนื้อ นอกจากนี้โปรตีนยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความสดชื่นระหว่างวันได้

ส่วนวัยผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับโปรตีนที่ย่อยง่าย ดูดซึมได้ดี เพื่อให้ร่างกายได้โปรตีนในปริมาณที่เพียงพอ ในวัยนี้โปรตีนมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมสร้างและคงสภาพของมวลกล้ามเนื้อ โดยจะถูกนำไปใช้เพื่อชดเชยการสลายตัวของกล้ามเนื้อตามวัย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการป่วยและความเหนื่อยล้าต่างๆ ได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

เช็กลิสต์ อาการขาดโปรตีน เป็นอย่างไร?

  • ผิวหนังมีลักษณะแห้ง ผิวหยาบกร้าน ดูแก่กว่าวัย
  • แผลหายช้ากว่าปกติ ผิวหนังไม่แข็งแรง
  • รู้สึกหิวบ่อยระหว่างวัน
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ รู้สึกว่ากล้ามเนื้อลีบฝ่อ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน นอนหลับยากกว่าปกติ
  • รู้สึกห่อเหี่ยว เซื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง ร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ ทำให้ป่วยบ่อย และใช้เวลานานกว่าจะหายจากอาการเจ็บป่วยนั้น
  • ในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือผมร่วง

วิธีดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะ “ขาดโปรตีน”

เนื่องจากโปรตีน (Protein) เป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมเอาไว้ได้ เพราะจะมีการสลายโปรตีนและขับออกทุกวันตามธรรมชาติ ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอทุกวัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ

โดยแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่เป็นแหล่งของโปรตีน หลายคนคงจะต้องนึกถึง ไข่ นม เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ที่จัดว่าเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง มีกรดอะมิโนที่ครบถ้วน นอกจากที่ยังมีแหล่งโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโอ๊ต เต้าหู้ เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีแต่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบถ้วน ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะร่างกายขาดโปรตีน ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้รับประทานอาหารอย่างหลากหลาย เช่น

  • เลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไขมันต่ำ หรือ เวย์โปรตีนคุณภาพสูง สลับกับการรับประทานโปรตีนจากพืชบ้าง เพราะโปรตีนจากพืชนั้นปราศจากไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล และเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างครบถ้วน
  • รับประทานโปรตีนให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน (เนื่องจากแต่ละคนมีความต้องการปริมาณโปรตีนไม่เท่ากัน)

อ่านต่อ : ระบบเผาผลาญพัง ตัวการสำคัญที่ทำให้ลดหุ่นไม่ได้ผล

แต่เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบของคนในปัจจุบัน ทำให้หลายคนไม่มีเวลาที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน หรือรับประทานโปรตีนได้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การเลือกเสริมด้วยโปรตีนในรูปแบบของเวย์โปรตีนไอโซเลต ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ดูดซึมเร็วและย่อยง่ายไม่มีปัญหาท้องอืด ซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับผู้สูงอายุเมื่อรับประทานโปรตีนเสริม จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนเลือก อย่างไรก็ตามควรพิจารณาเลือกซื้อจากแบรนด์ที่ไว้วางใจได้ ทั้งเรื่องคุณภาพของโปรตีน รวมถึงกระบวนการผลิตที่ต้องได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยและได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพ

อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

บำรุงร่างกายทั่วไป

ประโยชน์ของวิตามินอี

บำรุงร่างกายทั่วไป

เวย์โปรตีนสำหรับผู้ป่วย