ภูมิแพ้อากาศ จากฝุ่น PM 2.5 เลือกใช้ยาแก้แพ้แบบไหนดี ?

หวัด ภูมิแพ้
ภูมิแพ้อากาศ ใช้ยาแก้แพ้แบบไหนดี

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่าง “ภูมิแพ้อากาศ” ที่ต้องเผชิญกับอาการกำเริบที่รุนแรงกว่าเดิม ในขณะที่หลายคนเริ่มมีอาการภูมิแพ้อากาศ ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งฝุ่น PM 2.5 นั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแพ้ผิวหนัง มีอาการคัน ผื่นลมพิษกำเริบ รวมถึงอาการภูมิแพ้อื่นๆ ตามมาอีกด้วย

ภูมิแพ้อากาศ จากผลกระทบของฝุ่น PM 2.5

ภูมิแพ้อากาศ หรือ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นปฏิกิริยาการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก ซึ่งเกิดจากการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้ (Allergen)ในอากาศ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่น เศษขนสัตว์ รวมถึง ฝุ่น PM 2.5 ที่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่าย เมื่อร่างกายสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5

จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและหลั่งสารฮิสตามีนซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่างๆ โดยฝุ่น PM 2.5 นั้น เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (เล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ประมาณ 20-30 เท่า) ความอันตรายของฝุ่นชนิดนี้ คือ ขนาดที่เล็กมาก จนสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นาน และเมื่อเราหายใจเข้าไป ฝุ่นเหล่านี้สามารถผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนลึกเข้าไปถึงถุงลมปอด และ บางส่วนสามารถซึมผ่านเข้ากระแสเลือดได้อีกด้วย จึงส่งผลต่อโรคภูมิแพ้อากาศในหลายมิติ ดังนี้

  1. เป็นสารก่อภูมิแพ้โดยตรง ในฝุ่น PM 2.5 มักมีสารก่อภูมิแพ้ จำพวกโปรตีนหรือสารเคมีเกาะอยู่บนอนุภาค ซึ่งสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่มีภาวะภูมิแพ้ได้โดยตรง
  2. เป็นพาหะนำสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ อนุภาคขนาดเล็กของฝุ่น สามารถเป็นพาหะนำเอาสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ เช่น ละอองเกสร สปอร์เชื้อรา เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ลึกกว่าปกติ
  3. ทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจ การสัมผัสฝุ่น PM 2.5 เป็นประจำ จะทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจถูกทำลาย สูญเสียความสามารถในการป้องกันตนเอง และ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้ร่างกายไวต่อการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ได้มากขึ้น
  4. กดการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลเสียต่อการทำงานของเม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติไป
  5. กระตุ้นการหลั่งสารอักเสบ โดยฝุ่น PM 2.5 กระตุ้นให้ร่างกาย หลั่งสารอักเสบหลายชนิด เช่น ฮิสตามีน , ไซโตไคน์ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้

อาการภูมิแพ้อากาศ ที่พบบ่อย

จากงานวิจัยในประเทศไทย พบว่าในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน จำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการภูมิแพ้อากาศเพิ่มขึ้นราว 15-20% และ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศเรื้อรัง มีอาการกำเริบรุนแรงมากขึ้นถึง 30% ซึ่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้ โดยผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อากาศ มักมีอาการคันรอบๆ ดวงตา หรือ บริเวณหนังตาด้านในแดงมากกว่าปกติ รวมถึงอาจมีน้ำตาไหลและหนังตาบวมร่วมด้วย
  • อาการผื่นแพ้ทางพันธุกรรม เช่น ผิวแห้ง แดง คัน ส่วนใหญ่พบในผิวหนังบริเวณข้อศอก หัวเข่าและข้อพับต่างๆ ซึ่งพบมากในเด็กเล็ก
  • ปวดศีรษะ หูอื้อ อ่อนเพลีย หลังตื่นนอน รวมถึงอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรค เช่น ไซนัส นอนกรน หูชั้นกลางอักเสบ
  • ผื่นลมพิษ โดยผื่นบนผิวหนัง จะมีลักษณะบวม นูนหนา และ รู้สึกคัน 
  • อาการแพ้เฉียบพลัน เช่น มีอาการหน้าแดง คัดจมูก คลื่นไส้ อาเจียน หายใจหอบมีเสียงหวีด หากแพ้มากๆ อาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • รู้สึกแสบร้อนในโพรงจมูก หนักหรือแน่นบริเวณหน้าอก หายใจไม่สะดวก

ความรุนแรงของอาการภูมิแพ้อากาศ

อาการภูมิแพ้อากาศนั้น สามารถแบ่งตามระดับความรุนแรงได้เป็น

  1. ภูมิแพ้อากาศเล็กน้อย มักมีอาการจาม คันจมูก หรือ มีน้ำมูกใสเล็กน้อย โดยไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการนอนหลับ
  2. ภูมิแพ้อากาศปานกลาง โดยมีอาการชัดเจน รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง แต่ยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้
  3. ภูมิแพ้อากาศรุนแรง มักมีอาการแพ้มาก รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและกระทบต่อการนอนหลับ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานหรือเรียนลดลง

หากใครที่มีอาการภูมิแพ้อากาศ ผื่นขึ้น แน่นหน้าอก หรือ พบอาการผิดปกติรุนแรง ควรสังเกตว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด มีปัจจัยกระตุ้นอะไรบ้าง และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 สูง ควรเฝ้าสังเกตอาการของตนเองอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ส่วนอาการภูมิแพ้เป็นๆ หายๆ หรือ อาการที่ไม่รุนแรงมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถดูแลความสะอาดของร่างกายและรับประทานยาแก้แพ้ด้วยตนเองได้

อ่านต่อ : ภูมิแพ้ฝุ่น PM 2.5 อาการเป็นๆ หายๆ ต้องดูแลตัวเองอย่างไร

กินยาแก้แพ้ ภูมิแพ้อากาศ เซทิริซีน (Cetirizine)

ยาแก้ภูมิแพ้อากาศ เลือกใช้แบบไหนดี?

เมื่อมีอาการภูมิแพ้อากาศ คันจมูก หรือ มีผื่นขึ้นตามตัว โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 สูง การเลือกใช้ ยาแก้แพ้ ที่เหมาะสมจะช่วยบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ให้ลดลงได้ โดยยาแก้ภูมิแพ้แต่ละกลุ่มมีกลไกการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพในการรักษาที่แตกต่างกัน ซึ่งยาแก้แพ้ชนิดรับประทานนั้นจะออกฤทธิ์โดยการปิดกั้นตัวรับฮิสตามีนของร่างกายซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรือ ที่เรียกว่า ยาต้านฮิสตามีน  (Antihistamines) โดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ 

  • ยาแก้ภูมิแพ้ รุ่นที่ 1 (First-generation antihistamines) เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine), ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ข้อดีของยากลุ่มนี้ คือ ออกฤทธิ์เร็ว ราคาถูก แต่อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงนอนและมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องขับรถหรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิ รวมถึงเป็นยาชนิดออกฤทธิ์สั้นและต้องรับประทานวันละหลายครั้ง
  • ยาแก้ภูมิแพ้ รุ่นที่ 2 (Second-generation antihistamines) เช่น ลอราทาดีน (Loratadine)เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine), เดสลอราทาดีน (Desloratadine) และ เซทิริซิน (Cetirizine) ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ชนิดง่วงน้อย ใช้ในกรณีน้ำมูกไหลเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ ซึ่งตัวยาจะออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อเกิดอาการแพ้ สำหรับอาการภูมิแพ้อากาศทั้งชนิดที่มีอาการแพ้เฉพาะบางฤดูกาล หรือ เกิดอาการแพ้เรื้อรัง รวมถึงมีผื่นขึ้น หรือ ลมพิษเรื้อรังชนิดไม่ทราบสาเหตุ สามารถเลือกใช้ยาเซทิริซิน ชนิดรับประทานได้ โดยตัวยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังรับประทาน ซึ่งเร็วกว่ายาต้านฮิสตามีนรุ่นที่ 2 ชนิดอื่นๆ หลายตัว นอกจากนี้ ในปัจจุบันนั้น มียาเซทิริซีน (Cetirizine) นวัตกรรมใหม่ รูปแบบแคปซูลนิ่ม ที่ออกฤทธิ์เร็ว ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้อย่างรวดเร็ว  ควบคุมอาการแพ้ตลอดทั้งวัน และ ไม่ทำให้ง่วงนอนอย่างยาแก้ภูมิแพ้ รุ่นที่ 1 หรือแพทย์อาจเลือกใช้ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำตามระดับความรุนแรงของอาการแพ้

อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาในการรักษาโรคภูมิแพ้อากาศนั้น ไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ รวมถึงความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ของแต่ละคน หากในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันฝุ่นอนุภาคเล็กได้ เมื่อจำเป็นต้องออกนอกอาคาร รวมถึงสวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิด เพื่อปกป้องผิวจากมลภาวะและการเกิดผื่นคัน หากมีอาการภูมิแพ้อากาศ ไม่ว่าจะเป็น คันจมูก น้ำมูกไหล มีผื่น หรือ ลมพิษกำเริบ สามารถรับประทานยาแก้ภูมิแพ้ เพื่อบรรเทาอาการ และ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ให้ได้มากที่สุด 

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

หวัด ภูมิแพ้

ยาแก้แพ้ กับเรื่องที่ต้องรู้

หวัด ภูมิแพ้

รคภูมิแพ้แก้ได้ เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็คิดว่ายาก

ภูมิคุ้มกัน

หลักการกินสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อรักษาโรคโควิด-19 และโรคหวัด