Search

ไอเพราะฝุ่น PM 2.5 เจ็บคอ มีเสมหะ บรรเทาอาการได้อย่างไร

เจ็บคอ ระคายคอ
ไอเพราะฝุ่น PM 2.5

อาการ ไอเพราะฝุ่น โดยเฉพาะเมื่อร่างกายได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ ฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งเล็กกว่าขน ผมของมนุษย์ถึง 30 เท่า โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากหลายแหล่ง เช่น การเผาไหม้ ฝุ่นควันจากการจราจรหรือโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในชั้นบรรยากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือแอมโมเนีย เป็นต้น ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง ไอแห้ง เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดและโรคหัวใจอีกด้วย

ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง?

หากร่างกายได้รับ ฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานานหรือเกิดการสะสมในร่างกาย แม้ในช่วงแรกอาจไม่แสดงอาการผิดปกติมาก นอกจากอาการแสบคอหรือไอแห้ง แต่ในภายหลังอาจพออาการผิดปกติของร่างกายได้ จากการที่ฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ เช่น

  • ทำให้อาการภูมิแพ้ หรือหอบหืดกำเริบ
  • ปอดอักเสบ และติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • เป็นลมพิษ หรือมีผื่นขึ้นตามตัว
  • ผิวอ่อนแอ ผิวแพ้ง่าย จากการที่เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย
  • ไอแห้ง เจ็บคอ มีน้ำมูก ในบางรายที่ติดเชื้ออาจมีเสมหะเยอะ

ไอเพราะฝุ่น PM 2.5 มีอาการอย่างไร

อาการไอ เป็นหนึ่งในการตอบสนองของร่างกายจากการที่มีสิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจ เช่น เชื้อโรค ฝุ่นควัน หรือเสมหะ ทำให้ร่างกายพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกายด้วยการไอออกมา ซึ่งการไอทั่วไปมักเป็นอยู่ไม่เกิน 3-4 สัปดาห์ แต่หากเป็นอาการไอเรื้อรังอาจเกิดจากการถูกกดทับที่ปอดหรือหลอดลม เช่น มะเร็งปอด หรือก้อนเนื้อที่ผิดปกติ เป็นต้น โดยอาการไอที่พบได้บ่อยเมื่อต้องเผชิญกับฝุ่น PM 2.5 ได้แก่

  • ไอ จาม มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ มีเสมหะ
  • ระคายเคืองตา
  • แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก

วิธีบรรเทาอาการ ไอเพราะฝุ่น

ในวันที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณสูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สิ่งที่ควรปฏิบัติคือการสวมใส่หน้ากากอนามัยแบบ KF94 หรือ KN95 เพื่อป้องกันการสูดเอาฝุ่นเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ หรือหากอยู่ภายในอาคารควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด รวมถึงใช้เครื่องกรองอากาศที่มีฟิลเตอร์กรองฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม หากร่างกายเผชิญมลภาวะ และฝุ่นแล้วมีอาการไอ เจ็บคอ หรือเริ่มมีเสมหะเยอะ สามารถดูแลตนเองและบรรเทาอาการไอจากฝุ่นได้ดังต่อไปนี้

1. ดื่มน้ำให้มากขึ้น

เมื่อมีอาการไอจากฝุ่น แสบคอหรือระคายคอ ควรดื่มน้ำให้มากขึ้นอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อให้เยื่อบุลำคอมีความชุ่มชื้น และลดอาการระคายดังกล่าวได้

2. กลั้วคอด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำเกลือ

หากมีอาการไอ เจ็บคอ และมีเสมหะให้กลั้วคอด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำเกลือ หากไม่สะดวกสามารถใช้สเปรย์สมุนไพรพ่นคอ เพื่อให้ลำคอชุ่มชื้น และช่วยให้อาการเจ็บคอดีขึ้น อ่านต่อ: วิธีแก้เจ็บคอ บรรเทาอาการไอ ไอแห้ง และไอมีเสมหะ

3. งดอาหารมันและอาหารรสจัด

เนื่องจากอาหารมัน เช่น อาหารทอด ผัด และรสจัด มีส่วนที่ทำให้เกิดอาการระคายคอ และทำให้ไอมากขึ้น ดังนั้นในช่วงที่มีอาการไอจากฝุ่น ควรงดการรับประทานอาหารประเภทนี้ และควรเลือกรับประทานอาหารรสอ่อน อาหารต้ม นึ่ง และมีความหลากหลายของสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ

4. จิบน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งและมะนาว

เนื่องจากในมะนาวมีวิตามินซี และกรดซิตริก อีกทั้งในน้ำผึ้งมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบได้ จึงช่วยบรรเทาอาการระคายคอ และเจ็บคอได้ดี เมื่อน้ำมาผสมน้ำอุ่นไว้จิบระหว่างวันจะช่วยให้ลำคอมีความชุ่มชื้น และบรรเทาอาการไอได้

5. เมื่อ ‘ไอเพราะฝุ่น’ เลือกเม็ดฟู่ละลายเสมหะที่มี NAC

NAC (N-Acetylcysteine) คือ ยาละลายเสมหะในกลุ่ม Sulfhydryl ซึ่งโครงสร้างของ NAC จะเข้าไปทำให้มูกเหลวตัว และทำให้ร่างกายสามารถขับเสมหะทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อออกมาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การรับประทานเม็ดฟู่ที่มี NAC ปริมาณ 600 มิลลิกรัมต่อน้ำครึ่งแก้ว วันละ 2-3 ครั้ง จะสามารถกำจัดพิษ และสารอนุมูลอิสระที่มาจากมลพิษในอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 ได้ อีกทั้งยังเป็นสารตั้งต้นของกลูธาไธโอนที่ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระภายในร่างกายได้อีกด้วย

ข้อสรุป

อย่างไรก็ตาม ฝุ่น PM 2.5 นั้นมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลง และก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ ไอเพราะฝุ่น เจ็บคอ มีเสมหะ ฯลฯ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับฝุ่น ควัน และมลภาวะให้มากที่สุด รวมถึงบรรเทาอาการไอให้ถูกวิธี หากภายใน 3-4 สัปดาห์แล้วอาการไอยังไม่หายไป แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินัยฉัย และรักษาอย่างตรงจุดต่อไป

อัลบั้มภาพ

ข่าวสุขภาพอื่นๆ

หวัด ภูมิแพ้

ไขข้อข้องใจ…ทำไมกินยาแก้แพ้แล้วไม่หายสักที

หวัด ภูมิแพ้

ยาแก้แพ้ กับเรื่องที่ต้องรู้

หวัด ภูมิแพ้

รคภูมิแพ้แก้ได้ เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็คิดว่ายาก