เคล็ดลับของการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย นอกเหนือจากความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนสูงคือ อีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้การสร้างกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ซ ซึ่งนอกเหนือจากอาหารธรรมชาติที่ให้โปรตีน เช่น ไข่ขาว อกไก่ เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ไม่ติดมันแล้ว เวย์โปรตีน (Whey Protein) ก็คือแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมที่คนจำนวนมากเลือกรับประทาน
.
เวย์โปรตีน คือแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่สกัดจากนมวัว ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนครบถ้วนและปริมาณสูงที่มีประโยชน์โดยเฉพาะคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อ วิธีการสกัดเวย์โปรตีนจะทำโดยนำนมวัวมาผ่านกระบวนการเพื่อแยกไขมันและคาร์โบไฮเดรตออกไปให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้ได้สัดส่วนโปรตีนที่เข้มข้น เวย์โปรตีนที่พบในท้องตลาดมักจะอยู่ในรูปแบบผง มีการแต่งกลิ่นและรสชาติต่าง ๆ เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น ซึ่งประโยชน์ของเวย์โปรตีนก็คือ
1. ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ
ในเวย์โปรตีนประกอบด้วยบรานช์-เชน-อมิโนแอซิด (BCAAs) และกรดอะมิโนครบถ้วน 20 ชนิดที่มีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทาน และป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย
ช่วยให้มีแรงในการออกกำลังกาย ลดอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการออกกำลังกาย
3. เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย
ช่วยด้านการเจริญเติบโตของร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
อ่านต่อ : ลดน้ำหนักให้หุ่นดีแบบคุมแคลอรี่ด้วยเวย์โปรตีน
.
โปรตีนเวย์ยอดนิยมและส่วนใหญ่มีวางขายในท้องตลาด มี 2 ชนิดหลัก ๆ
1. เวย์โปรตีนคอนเซนเทรท (Whey Protein Concentrate – WPC)
เป็นเวย์โปรตีนที่มีการแยกน้ำตาลแลคโตสและไขมันที่ผสมอยู่ในนมออกด้วยวิธีการ Ultrafiltration ซึ่งโปรตีนที่ได้จะมีความเข้มข้นของโปรตีนอยู่ที่ประมาณ 25-89% เป็นเวย์โปรตีนที่มีรสชาติดี เนื่องจากยังมีแลคโตสและไขมันผสมอยู่จำนวนหนึ่ง เหมาะกับผู้ที่ต้องการพัฒนากล้ามเนื้อในช่วงแรกของการออกกำลังกาย และเหมาะกับคนที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว
2. เวย์โปรตีนไอโซเลต (Whey Protein Isolate – WPI)
เป็นเวย์โปรตีนที่เกิดจากการจากนำเวย์โปรตีนคอนเซนเทรทมาผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ได้โปรตีนเข้มข้นมากขึ้น 90-97 เปอร์เซ็นต์ และอนุภาคของโปรตีนจะเล็กลงทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น เวย์โปรตีนชนิดนี้จะมีไขมันและน้ำตาลแลคโตสในปริมาณที่น้อยมาก จึงเหมาะกับคนที่ชอบออกกำลังกายเพื่อต้องการกล้ามเนื้อที่เฟิร์ม กระชับ ควบคู่ไปกับการควบคุมไขมันและคาร์ไบไฮเดรตแบบไม่ต้องกลัวอ้วน ทำให้ออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในอดีตเวย์โปรตีน (Whey Protein) ส่วนมากจะเป็นที่นิยมในบรรดานักกีฬาเพาะกายหรือนักกีฬามืออาชีพที่ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬามาช่วย แต่ในปัจจุบันเทรนด์ไลฟ์สไตล์การออกกำลังกายได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น กีฬาวิ่ง หรือปั่นจักรยาน จึงมีคนจำนวนมากหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น ทำให้เวย์โปรตีนเข้าไปเป็นตัวช่วยยอดนิยมในกลุ่มผู้ออกกำลังกายในระดับเริ่มต้นมากขึ้น เพราะทุกคนต่างให้การยอมรับถึงประโยชน์ของเวย์โปรตีนว่าแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น สามารถย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และช่วยในการนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายเพื่อผลลัพธ์ตามต้องการ
.
ในปัจจุบันความนิยมของเวย์โปรตีนมีมากขึ้น และในท้องตลาดก็มีหลากหลายยี่ห้อ จึงทำให้หลายคนสงสัยว่า หากจะเราเลือกรับประทานอย่างไร รวมถึงมีวิธีเลือกอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อการออกกำลังกาย จึงได้แนะนำวิธีไว้ดังนี้
1. พิจารณาจากปริมาณของโปรตีนที่เหมาะสม
โดยดูได้จากฉลากโภชนาการ (Nutrition Facts Label) ว่าผลิตภัณฑ์เวย์โปรตีนยี่ห้อนั้นๆ ให้ปริมาณโปรตีน 20-40 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภคหรือการรับประทาน 1 ครั้ง เพราะมีผลการวิจัยพบว่าปริมาณดังกล่าวจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี ให้ปริมาณโปรตีน และ BCAAs ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในสังเคราะห์โปรตีนของร่างกาย และส่งผลต่อการสร้างกล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ
2. เลือกชนิดเวย์โปรตีน (Whey Protein) ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ผู้ที่ออกกำลังกายเพื่อต้องการกล้ามเนื้อที่เฟิร์ม กระชับ ควบคู่ไปกับการควบคุมไขมันและคาร์ไบไฮเดรต ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อการออกกำลังกายแนะนำเวย์โปรตีนไอโซเลต เพราะมีไขมันและน้ำตาลแลคโตสในปริมาณที่น้อย ส่วนคนที่ต้องการเติมเต็มกล้ามเนื้อหรือเพิ่มน้ำหนักตัวแนะนำให้เริ่มต้นรับประทานนเวย์โปรตีนแบบคอนเซนเทรท
3. พิจารณาแหล่งที่ และวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ
ในท้องตลาดมีเวย์โปรตีนที่ผลิตมาจากหลายแหล่ง โดยเฉพาะเวย์ที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี จีน ตุรกี ออสเตรเลีย ฯลฯ แต่ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตที่ดีที่สุดก็คือ นิวซีแลนด์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีกรรมวิธีที่ได้มาซึ่งวัตถุดิบด้วยน้ำนมจากวัวที่เลี้ยงพื้นที่เปิดแบบธรรมชาติ ไม่มีการใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตที่ช่วยให้วัวสามารถผลิตน้ำนมได้มากขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลเสียกับสัตว์ และมีโอกาสเหลือตกค้างอยู่ในเวย์โปรตีน
1. Keogh, C., Li, C., & Gao, Z. (2019). Evolving consumer trends for whey protein sports supplements: the Heckman ordered probit estimation. Agricultural And Food Economics, 7(1). Retrieved from : doi: 10.1186/s40100-019-0125-9
Marshall, Keri. (2004). Whey Protein Therapeutic Applications. Alternative medicine review : a journal of clinical therapeutic. 9. 136-56. Retrieved from :
2. https://www.essentialnutrition.eu/media/wysiwyg/pdf/WheyProtein/Whey3.pdf
3. https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/1535468